วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

อังกฤษ (บุคคล)


พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Henry VIII of England – พ.ศ. 2034 - 2090 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2052 - 2090) ประสูติที่พระราชวังกรีนิช ลอนดอน ใน ราชอาณาจักรอังกฤษ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ ทันทีที่เสด็จขึ้นครองราชย์ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแคเธอรีนแห่งอารากอน ซึ่งเป็นม่ายของพระเชษฐาอาเธอร์
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) กับพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในฐานะของสมาชิก
สันนิบาตอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy League) พระองค์ได้ทรงรุกรานฝรั่งเศส (พ.ศ. 2055) ได้รับชัยชนะในสงครามแห่งสเปอร์ (พ.ศ. 2056) ในระหว่างที่ทรงประทับในต่างประเทศทหารสก็อตก็รบแพ้ที่ฟล็อตเดน ในปี พ.ศ. 2064 ทรงตีพิมพ์หนังสือว่าด้วยการเข้าพิธีทำสัตย์สาบานเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนเพื่อตอบรับนิกายลูเธอร์ (โปรเตสแตนท์) เรื่อง “ผู้ปกป้องศรัทธา” (Defender of the Faith) ที่ได้รับจากพระสันตะปาปา และนับจาก พ.ศ. 2070 พระองค์ได้พยายามหย่ากับพระนางแคทรีนซึ่งราชบุตรทุกพระองค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่เป็นทารกยกเว้นเจ้าหญิงแมรี พระองค์ทรงพยายามกดดันพระสันตะปาปาโดยการทำให้พระคาทอลิกรู้สึกต่ำต้อยและยังได้ทรงท้าทายศาสนาแคทอลิกด้วยการอภิเษกกับเจ้าหญิงแอนน์ โบลีน (พ.ศ. 2076) ในปีต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศให้การอภิเษกกับพระนางแคทรีนเป็นโมฆะ และมีประกาศให้พระมหากษัตริย์คือพระองค์ทรงเป็นพระประมุขของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ (Church of England) แต่เพียงพระองค์เดียว นโยบายการปราบปราบฝ่ายศาสนาได้เริ่มอุบัติขึ้น เมื่อพระนางแคเทอรีนสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2079 และพระนางแอนน์ โบลีนถูกประหารชีวิตฐานมีชู้ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 จึงได้อภิเษกสมรสครั้งที่สามกับสมเด็จพระราชินีเจน เซมัวร์ซึ่งก็ได้สิ้นพระชนม์เสียอีก แต่ก็ได้ให้กำเนิดพระโอรสซึ่งต่อมาคือพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2083 ทรงอภิเษกเป็นครั้งที่สี่กับเจ้าหญิงแคทรีน เฮาวาร์ดโดยหวังการมีสายสัมพันธ์กับฝ่ายโปรเตสแตนท์เยอรมัน แต่พระนางก็ถูกประหารชีวิตอีกด้วยข้อหามีชู้เช่นกันในสองปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2086 ทรงอภิเษกเป็นครั้งสุดท้ายกับเจ้าหญิงแคทรีน พาร์ซึ่งกลายเป็นม่ายของพระองค์



พระเจ้าจอห์น หรือที่รู้จักในพระนาม “จอห์นผู้เสียแผ่นดิน” (อังกฤษ: John หรือ John Lackland พ.ศ. 1709-1759) พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1742-1759 พระโอรสองค์เล็กของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ และ เอเลเนอร์แห่งอากีแตน ประสูติที่ออกซ์ฟอร์ด ออกฟอร์ดไชร์ อังกฤษ สหราชอาณาจักร นับเป็นกษัตริย์ที่มีผู้นิยมชมชอบน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษ ทรงเคยพยายามที่จะยึดราชบรรลังก์ระหว่างที่พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 ถูกจองจำอยู่ในประเทศเยอรมนี (พ.ศ. 1736-37) แต่ได้รับพระราชอภัยโทษและรับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 1 เอง เพื่อตัดสิทธิ์เจ้าชายอาเธอร์พระโอรสของจอฟเฟรย์พระเชษฐาองค์พี่ของพระเจ้าจอห์น

สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฝรั่งเศส และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนสวรรคต บางกรณีทรงได้รับการกล่าวถึงในพระนาม “ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ประสูติที่พระราชวังกรีนิช ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงแค่ 3 พรรษา เมื่อพระบิดาอภิเษกสมรสครั้งที่ 3 กับสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ ใน พ.ศ. 2079 พระองค์และเจ้าฟ้าหญิงแมรี พระพี่นางต่างพระมารดาถูกประกาศว่าเป็นบุตรีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยรัฐสภาเนื่องจากการเอนเอียงมาทางพระราชโอรสของพระนางเจน (ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นเถลิงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ)

สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ (อังกฤษ: Charles I of England) (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 160030 มกราคม ค.ศ. 1649) ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชวงศ์สจวตของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1625 ถึงปี ค.ศ. 1649
พระเจ้าชาร์ลส์พระราชสมภพเมื่อวันที่
19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 ที่ดัมเฟิร์มไลน์ ในสกอตแลนด์ ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และ แอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรีย ทรงครองราชย์ระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1625 ถึง 23 ธันวาคม ค.ศ. 1649 พระองค์เสด็จสวรรคตโดยการถูกสำเร็จโทษโดยการประหารชีวิต[1]เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1649 ที่ลอนดอนในประเทศอังกฤษ
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงมีความขัดแย้งทางอำนาจการเมืองกับ
รัฐสภาอังกฤษ ทรงมีความเห็นว่าการเป็นพระมหากษัตริย์เป็นอำนาจที่รับมอบหมายจากพระเจ้าโดยตรงตามปรัชญาเทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นทางอังกฤษยังกลัวว่าจะพยายามเพิ่มอำนาจของพระองค์เองโดยการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระราชกรณียกิจหลายประการโดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีทรงทำโดยปราศจากการอนุมัติจากรัฐสภาซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาการต่อต้านกันโดยทั่วไป[2

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

อังกฤษ (สถานที่4)


หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster) หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รี เป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic)
หลายคนเข้าใจว่าบิกเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิกเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิกเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิกเบนเรียกตัวหอทั้งหมด
บางทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Tower) หรือหอแห่งบิกเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง[1] ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไป [2]



ลอนดอนอาย (อังกฤษ: London Eye) หรือยังรู้จักในชื่อ มิลเลเนียมวีล (อังกฤษ: Millennium Wheel) เป็นชิงช้าสวรรค์ที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 135 เมตร (443 ฟุต) และกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างมากในสหราชอาณาจักร มีผู้มาเยือนมากกว่า 3 ล้านคนต่อปี ส่วนบัตรเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่อยู่ที่ 15 ปอนด์ต่อคน ซึ่งในอดีตเคยเป็นชิงช้าสวรรค์ก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก ก่อนจะถูกชิงตำแหน่งไปจากชิงช้าสวรรค์ เดอะ สตาร์ ออฟ นานชาง ในประเทศจีน (160 เมตร) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 ต่อมาภายหลังตำแหน่งตกเป็นของ สิงคโปร์ ฟลายเออร์ ในประเทศสิงคโปร์ (165 เมตร) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 อย่างไรก็ตาม ลอนดอน อาย ก็ยังคงได้รับตำแหน่งจากการให้บริการว่า "ชิงช้าสวรรค์ที่ก่อสร้างด้วยโครงเหล็กค้ำข้างเดียวที่สูงที่สุดในโลก" (เพราะการโครงสร้างทั้งหมดใช้โครงค้ำเหล็กรูปตัว A ในการให้บริการโดยใช้โครงค้ำเพียงแค่ด้านเดียวเท่านั้นไม่เหมือนชิงช้าสวรรค์อื่นๆ ทั่วไป ที่มีโครงค้ำสองข้าง)
ลอนดอน อาย ตั้งอยู่ ณ ที่ฝั่งสุดด้านตะวันตกของสวนจูบิลี่ บนริมฝั่งทางใต้ของแม่น้ำเทมส์ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ระหว่างสะพานเวสต์มินสเตอร์กับสะพานฮันเกอร์ฟอร์ด โดยสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของโดมแห่งการค้นพบ ที่เคยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานนิทรรศการเฟสติวัล ออฟ บริเตน ในปี ค.ศ. 1951

สโตนเฮนจ์ (อังกฤษ: Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบว้างใหญ่ในบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ ในบริเวณตอนใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันอยู่ในแนวนอน และบางอันก็ถูกวางซ้อนขึ้นไปข้างบน
สโตนเฮนจ์มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินประหลาดซึ่งไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาถึงอายุของมันแล้ว คาดว่ากลุ่มกองหินประหลาดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่า คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ในบริเวณที่ราบดังกล่าว ไม่ใช่บริเวณที่จะมีก้อนหินขนาดมหึมานี้ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมด มาจากที่อื่น ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากบริเวณที่เรียกว่า "ทุ่งมาล์โบโร" ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว
มีผู้สันนิษฐานถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างสโตนเฮนจ์กันหลายประเด็น แต่ประเด็นที่ดูจะได้รับความเชื่อถือมากที่สุดคือ เป็นสถานที่สำหรับการทำพิธีกรรมทางศาสนาของชนกลุ่มที่นับถือลัทธิดรูอิท รองลงมาคือความเชื่อที่ระบุว่า เป็นการสร้างเพื่อหวังผลทางดาราศาสตร์ ใช้ในการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า เช่น สุริยุปราคา เป็นต้น
สโตนเฮนจ์ได้ถูกจัดให้เป็นเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางอีกด้วย

อังกฤษ (สถานที่3)

หอคอยแห่งลอนดอน (อังกฤษ: Tower of London) เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ เป็นพระราชวังที่เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1078เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ พระราชวังเป็นรู้จักกันในนามว่า “หอคอยแห่งลอนดอน” หรือ “หอ” ในประวัติศาสตร์ ตัวปราสาทตั้งอยู่ภายในโบโรแห่งทาวเวอร์แฮมเล็ทส์และแยกจากด้านตะวันออกของนครหลวงลอนดอน (City of London) ด้วยลานโล่งที่เรียกว่าเนินหอคอยแห่งลอนดอน หรือ “ทาวเวอร์ฮิล” (Tower Hill)
หอคอยแห่งลอนดอนมักจะรู้จักกันในการเกี่ยวข้องกับหอขาว (White Tower) ซึ่งแต่เดิมเป็นหอสีขาวที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1078 แต่กลุ่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมดของหอคอยแห่งลอนดอนตั้งอยู่รอบวงแหวนสองวงภายในกำแพงและคูป้องกันปราสาท
ตัวหอคอยใช้เป็นป้อม พระราชวังของพระมหากษัตริย์ และที่จำขังโดยเฉพาะสำหรับนักโทษที่มียศศักดิ์สูงเช่นพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1ก็เคยทรงถูกจำขังในหอคอยโดยพระราชินีนาถแมรี และยังเป็นที่สำหรับประหารชีวิตและทรมาน คลังเก็บอาวุธ ท้องพระคลัง สวนสัตว์ โรงกษาปณ์หลวง หอเก็บเอกสาร หอดูดาว และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1303 เป็นที่เก็บรักษามงกุฏและเครื่องราชาภิเษกของสหราชอาณาจักร

พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือ ตึกรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Palace of Westminster หรือ Houses of Parliament หรือ Westminster Palace) เป็นสถานที่ที่สภาสองสภาของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร (สภาขุนนาง และสภาสามัญชน ) ประชุม พระราชวังตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำเทมส์ในนครเวสต์มินสเตอร์ของลอนดอนบะระห์ไม่ไกลจากพระราชวังไวท์ฮอลล์
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์มีห้องทั้งหมดด้วยกันประมาณ 1,100 ห้อง, 100 บันได และ ระเบียงยาวรวมทั้งหมดประมาณ 4.8 กิโลเมตร ตัวสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ก็ยังมีส่วนก่อสร้างเดิมเหลืออยู่บ้างเล็กน้อยรวมทั้งท้องพระโรงที่ในปัจจุบันใช้ในงานสำคัญๆ เช่นการตั้งศพของบุคคลสำคัญก่อนที่จะนำไปฝัง และหออัญมณี (Jewel Tower)
การบริหารพระราชวังแต่เดิมเป็นหน้าที่ของผู้แทนพระองค์ Lord Great Chamberlain แต่ในปี ค.ศ. 1965 เปลี่ยนมือไปเป็นของรัฐสภานอกจากห้องพิธีบางห้องที่ยังคงอยู่ภายใต้การบริหารของผู้แทนพระองค์
หลังจากเกิดเพลิงใหม้ในปี ค.ศ. 1834 ตึกรัฐสภาปัจจุบันก็ได้รับการสร้างใหม่โดยใช้เวลาสร้าง 30 ปี โดยมีเซอร์ ชาร์ลส์ บาร์รีย์ (Charles Barry) และผู้ช่วยออกัสตัส พิวจินเป็นสถาปนิก การออกแบบรวมท้องพระโรงเวสต์มินสเตอร์และชาเปลเซนต์สตีเฟน (St Stephen's Chapel) ที่ยังเหลือ พระราชวังไวท์ฮอลล์ (ภาษาอังกฤษ: Palace of Whitehall) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ในลอนดอนในสหราชอาณาจักร ที่ประทับหลักของพระมหากษัตริย์อังกฤษในลอนดอนระหว่าง ค.ศ. 1530 - ค.ศ. 1698 ยกเว้นเมื่อตึกเลี้ยงรับรอง (Banqueting House) ที่สร้างโดยอินิโก โจนส์ (Inigo Jones) ในปี ค.ศ. 1622 เกิดเพลิงไหม้ ก่อนที่ไฟจะไหม่พระราชวังไวท์ฮอลล์เป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปที่ประกอบด้วยห้องทั้งหมดกว่า 1,500 ห้อง
ชื่อของวังใช้เป็นชื่อถนนที่เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริหารต่างๆ ของรัฐบาลอังกฤษ

อังกฤษ (สถานที่2)

พระราชวังเค็นซิงตัน (ภาษาอังกฤษ: Kensington Palace) เป็นพระราชวังตั้งอยู่ที่โบโรเค็นซิงตันและเชลเซีย ลอนดอน ในสหราชอาณาจักร เป็นวังที่เดิมสร้างสำหรับดยุคแห่งนอตติงแฮม เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 พระราชวังเค็นซิงตันใช้เป็นที่ประทับของราชวงศ์อังกฤษมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ในปัจจุบันเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้าชายริชาร์ด ดยุคแห่งกลอสเตอร์ และเบอร์จีต ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์; เจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุคแห่งเค้นทและแคทเธอริน ดัชเชสแห่งเค้นท; และเจ้าชายและเจ้าหญิงไมเคิลแห่งเค้นท และเจ้าหญิงไดอานาประทับจนกระทั่งปี ค.ศ. 1997พระราชวังเดิมชื่อคฤหาสน์นอตติงแฮมสร้างเป็นครั้งแรกสำหรับเอิร์ลแห่งนอตติงแฮมเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่หมู่บ้านเค็นซิงตัน พระเจ้าวิลเลียมที่ 3ทรงซื้อจากผู้สืบตระกูลของเอิร์ลแห่งนอตติงแฮมในปี ค.ศ. 1689 เพราะทรงมีพระประสงค์จะออกมาอยู่นอกใจกลางลอนดอนเพื่อเลี่ยงจากอากาศเสียในตัวเมืองเพราะทรงเป็นโรคหืด เค็นซิงตันขณะนั้นเป็นหมู่บ้านนอกกรุงลอนดอนแต่เข้าลอนดอนโดยทางเรือได้ง่ายกว่ามาจากพระราชวังแฮมตัน จากนั้นก็มีการสร้างถนนจากพระราชวังไปสู่ไฮปาร์คคอร์เนอร์ที่กว้างพอที่จะให้รถม้าหลายคันวิ่งขนานกันได้ ถนนนี้ในปัจจุบันคือรอตเตนโรว์
พระราชวังได้รับการปรับปรุงและขยายเพิ่มเติมโดยเซอร์คริสโตเฟอร์ เร็นโดยเพิ่มศาลา (pavilion) ทุกมุมตรงตึกกลาง เร็นย้ายด้านหน้าของบ้านไปทางตะวันตกและเพิ่มปีกเหนือและใต้ทำให้เป็น “cour d'honneur” โดยมีทางเข้าใต้ซุ้มโค้งที่ประดับด้วยนาฬิกา พระราชวังเค็นซิงตันมักจะเรียกกันว่า “บ้านเค็นซิงตัน” เพราะใช้เป็นที่หลบจากสังคมภายนอกมาเป็นส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์ สวนครัวล้อมกำแพง (walled kitchen garden) ของพระราชวังเป็นที่ปลูกผักผลไม้สำหรับพระราชวังเซนต์เจมส์



ตำหนักซานดริงแฮม (ภาษาอังกฤษ: Sandringham House) เป็นคฤหาสน์ชนบทตั้งอยู่ที่หมู่บ้านซานดริงแฮม, นอร์โฟล์คในสหราชอาณาจักร เป็นตำหนักที่เป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์อังกฤษ
บริเวณที่ตั้งของตำหนักมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยเอลิซาเบธ ในปี ค.ศ. 1771 สถาปนิกคอร์นิช เฮ็นลีย์สร้างซานดริงแฮมฮอล ซานดริงแฮมฮอลได้รับการขยายระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยชาร์ลส์ สเป็นเซอร์ คาวเพอร์บุตรของลอร์ดพาล์มเมอร์สตัน ผู้สร้างระเบียงและเรือนกระจกที่หรูหราออกแบบโดยสถาปนิกซามูเอล แซนเดอร์ส ทูลอน (Samuel Sanders Teulon)
ในปี ค.ศ. 1862 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงซี้อซานดริงแฮมฮอลตามพระประสงค์ของพระราชโอรสเจ้าชายแห่งเวลส์เพื่อใช้เป็นที่ประทับของพระองค์และเจ้าสาวเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก สองปีหลังจากที่ทรงย้ายไปประทับที่ซานดริงแฮมฮอลก็ทรงพบว่ามีขนาดเล็กเกินกว่าที่ต้องพระประสงค์ จึงทรงสั่งให้เอ เจ ฮัมเบิร์ตรื้อตำหนักทิ้งเพื่อสร้างตำหนักใหม่ที่ใหญ่ขึ้น
สิ่งก่อสร้างใหม่เป็นอิฐสีแดงสร้างเสร็จปลายปี ค.ศ. 1870 เป็นลักษณะผสมที่เห็นกันว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีนักของการก่อสร้างคฤหาสน์ชนบทของสมัยวิคตอเรียตอนกลาง ส่วนที่ขยายเป็นแกลเลอรีโถงทางเข้าซึ่งใช้ในการจัดงานเลี้ยงและกิจการภายในครอบครัว ปีกที่ก่อสร้างใหม่ต่อจากตัววังเดิมตามลักษณะเก่า ประกอบด้วยบอลรูม การออกแบบด้านนี้ถือว่าเป็นแบบที่สอดคล้องกันกว่าส่วนอื่น ถึงแม้ว่าการออกแบบจะไม่มีอะไรพิเศษนัก แต่ตำหนักเป็นสิ่งก่อสร้างที่ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ที่ล้ำยุคเช่น การติดตั้งไฟแกส ห้องน้ำที่มีน้ำประปา และน้ำฝักบัว ส่วนหนึ่งของวังถูกทำลายในไฟไหม้ระหว่างการเตรียมฉลองวันประสูติครบ 50 พรรษาของ เจ้าชายแห่งเวลส์ในปี ค.ศ. 1891 แต่ก็ได้รับการซ่อมแซม


พระราชวังวินด์เซอร์ (ภาษาอังกฤษ: Windsor Castle) เป็นพระราชวังตั้งอยู่ที่วินด์เซอร์, มลฑลบาร์คเชอร์ในสหราชอาณาจักร สร้างโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1070สถาปัตยกรรมเป็นแบบโรมาเนสก์ พระราชวังวินด์เซอร์เป็นพระราชฐานที่ยังมีผู้อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นพระราชฐานที่เก่าที่สุดที่มีผู้อยู่อาศัยที่ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่เริ่มสร้าง เนื้อที่การใช้สอยมีทั้งหมดด้วยกัน 484,000 ตารางฟุต หรือ 45,000 ตารางเมตร[1]
พระราชวังวินด์เซอร์, พระราชวังบัคคิงแฮม ที่กรุงลอนดอน และพระราชวังโฮลีรูด (Holyrood Palace) ที่เอดินบะระ เป็นพระราชฐานหลักสามแห่งของพระราชวงศ์อังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มักทรงใช้เวลาวันสุดสัปดาห์หลายวันที่พระราชวังวินด์เซอร์เป็นทั้งที่จัดงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการและเป็นการส่วนพระองค์ ตำหนักซานดริงแฮมและ พระราชวังบาลมอรัลเป็นพระราชวังส่วนพระองค์
พระมหากษัตริย์และกษัตรีย์แห่งอังกฤษเกือบทุกพระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการสร้างและการวิวัฒนาการของพระราชวังวินด์เซอร์โดยตลอด พระราชวังเคยใช้เป็นป้อมปราการ ที่อยู่อาศัย ที่ประทับอย่างเป็นทางการ และบางครั้งเรือนจำ ประวัติของพระราชวังจึงเกี่ยวพันกับประวัติของพระมหากษัตริย์และกษัตรีย์ของอังกฤษอย่างใกล้ชิด การศึกษาประวัติก็ทำได้โดยการศึกษาจากประวัติของรัชสมัยต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ที่มาประทับ ในยามสงบจากศึกสงครามพระราชวังก็ได้รับการขยายเพิ่มเติมด้วยห้องชุดสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ยามสงครามพระราชวังก็ใช้เป็นป้อมปราการด้วยการสร้างเสริมอย่างแน่นหนา ระบบนี้ก็ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
พระราชวังแฮมพ์ตันคอร์ท (อังกฤษ: Hampton Court Palace) เป็นพระราชวังหลวงที่ตั้งอยู่ที่ลอนดอนบะระห์แห่งริชมอนด์อัพพอนเทมส์ 18.8 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงใต้ของชาริงครอสในกรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักร และเหนือใจกลางลอนดอนบนฝั่งแม่น้ำเทมส์ เป็นพระราชวังที่ไม่ได้ใช้ประทับโดยพระราชวงศ์อังกฤษมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18
พระราชวังเดิมสร้างสำหรับคาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์ผู้เป็นข้าราชสำนักคนโปรดของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ราวปี ค.ศ. 1514 แต่ในปี ค.ศ. 1529 โวลซีย์ก็หลุดจากความเป็นคนโปรด พระองค์ทรงยึดพระราชวังและทำการขยายให้ใหญ่โตขึ้น
ในศตวรรษต่อมาสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ก็ทรงเริ่มโครงการขยายพระราชวังให้ใหญ่ขึ้นไปอีกโดยมีพระประสงค์ที่จะให้เป็นคู่แข่งของพระราชวังแวร์ซายส์[1] แต่ก็มาหยุดชะงักลงในปี ค.ศ. 1694 ทำให้พระราชวังมีลักษณะสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดของสองสมัยสถาปัตยกรรมทิวดอร์ และสถาปัตยกรรมบาโรก แม้ว่าจะมีลักษณะที่แตกต่างกันของสถาปัตยกรรมแต่ก็ยังมีลักษณะของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยทั่วไปอยู่อย่างหนึ่งคือการสร้างด้วยอิฐแดง[2]
ในปัจจุบันพระราชวังเปิดให้ประชาชนเข้าชมและเป็นจุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวสำคัญที่สุดที่หนึ่งของลอนดอน นอกจากนั้นก็ยังเป็นสถานที่สำหรับการจัดงานประจำปีสองงาน “เทศกาลพระราชวังแฮมพ์ตันคอร์ท” และ “การแสดงดอกไม้ประจำปีพระราชวังแฮมพ์ตันคอร์ท” พระราชวังแฮมพ์ตันคอร์ทและพระราชวังเซนต์เจมส์เป็นพระราชวังเพียงสองพระราชวังในพระราชวังหลายพระราชวังที่เป็นของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ที่ยังเหลือรอดอยู่

อังกฤษ (สถานที่)

พระราชวังบัคคิงแฮม (อังกฤษ: Buckingham Palace) เดิมชื่อ คฤหาสน์บัคคิงแฮม เป็นพระราชวังที่เป็นที่ประทับเป็นทางการของราชวงศ์อังกฤษ[1]ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักรเป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับการเลี้ยงรับรองของรัฐและยังเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวสำคัญที่หนึ่งของกรุงลอนดอน และยังเป็นที่รวมพลังใจทั้งในการฉลองและในยามคับขันของชาวอังกฤษ
พระราชวังบัคคิงแฮมแต่เดิมชื่อ “คฤหาสน์บัคคิงแฮม” (Buckingham House) สิ่งก่อสร้างเดิมเป็นคฤหาสน์ที่สร้างสำหรับจอห์น เชฟฟิลด์ ดยุคแห่งบัคคิงแฮมในปี ค.ศ. 1703 ในปี ค.ศ. 1761[2] สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3ทรงซื้อจากดยุคแห่งบัคคิงแฮมเพื่อเป็นพระราชฐานส่วนพระองค์ ที่รู้จักกันในชื่อ “วังพระราชินี” (The Queen's House) ระยะ 75 ปีต่อมาเป็นเวลาที่มีการขยายต่อเติมพระราชวังโดยสถาปนิกจอห์น แนช (John Nash) และ เอ็ดเวิร์ด บลอร์ (Edward Blore) เป็นสามปีรอบลานกลาง
พระราชวังบัคคิงแฮมกลายมาเป็นพระราชฐานที่ประทับอย่างเป็นทางการของราชวงศ์อังกฤษเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียขึ้นครองราชย์เมื่อปี ค.ศ. 1837 การต่อเติมครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายทำในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งรวมทั้งด้านหน้าที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน บางครั้งพระราชวังบัคคิงแฮมก็เรียกกันเล่นๆ ว่า “บัคเฮาส์” ปราสาทบาลมอรัล (ภาษาอังกฤษ: Balmoral Castle) เป็นปราสาทที่ตั้งอยู่ที่ในอเบอร์ดีนเชอร์ใน สกอตแลนด์ในสหราชอาณาจักร ปราสาทบาลมอรัลรู้จักกันว่า “Royal Deeside” เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตพระสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรทรงซื้อปราสาท และยังใช้เป็นที่ประทับในฤดูร้อนของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรมาจนถึงทุกวันนี้
ปราสาทผ่านมือกันมาหลายชั่วคนและได้รับการขยายต่อเติมจนมีเนื้อที่กว่า 260 ตารางกิโลเมตร (65,000 เอเคอร์)[1] ในปัจจุบันปราสาทยังเป็นสถานที่ที่ใช้ในการพำนักอาศัยที่มีผู้ทำงานเต็มเวลาทั้งหมด 50 คนและอีก 100 คนครึ่งเวลา
พระราชวังโฮลีรูด (ภาษาอังกฤษ: Holyrood Palace หรือ Palace of Holyroodhouse) ชื่อ “Holyrood” เป็นคำที่แปลงเป็นภาษาอังกฤษจากคำว่า “Haly Ruid” ของภาษาสกอตที่แปลว่า “Holy Cross” หรือ “กางเขนศักดิ์สิทธิ์” พระราชวังโฮลีรูดเป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ที่เอดินบะระห์ในสกอตแลนด์ในสหราชอาณาจักร โฮลีรูดเป็นพระราชวังที่เป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์อังกฤษที่ยังทรงใช้ในสถานที่ประทับหลักในสกอตแลนด์
โฮลีรูดเดิมเป็นสำนักสงฆ์ที่ก่อตั้งโดยพระเจ้าเดวิดที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ ในปี ค.ศ. 1128 ต่อมามาใช้เป็นที่ประทับหลักของพระมหากษัตริย์และพระราชินีของสกอตแลนด์มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ตัวพระราชวังตั้งอยู่ทางใต้ของรอยัลไมล์ (Royal Mile) ในเอดินบะระห์ ตรงกันข้ามกับปราสาทเอดินบะระห์ทางอีกด้านหนึ่งของรอยัลไมล์ ในปัจจุบันเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการในสกอตแลนด์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ผู้ทรงประทับเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ในต้นฤดูร้อนของทุกปีและทรงเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงในสวนและการเลี้ยงรับรองอย่างเป็นทางการต่างๆ เมื่อประทับอยู่ที่นั่น


พระราชวังเซนต์เจมส์ (ภาษาอังกฤษ: St. James’s Palace) เป็นพระราชวังที่เก่าแก่ที่สุดพระราชวังหนึ่งในกรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักร สร้างโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8บนที่เดิมเป็นโรงพยาบาลคนโรคเรื้อนที่อุทิศให้แก่นักบุญเจมส์ ลูกของอัลเฟียส[1] ซึ่งเป็นชื่อที่พระราชวังและอุทยานตั้งตาม โรงพยาบาลถูกยุบเลิกเมื่อปี ค.ศ. 1532.[2] พระราชวังใหม่มีความสำคัญเป็นลำดับสองรองจากพระราชวังไวท์ฮอลในความสนพระทัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ตัววังสร้างด้วยอิฐแดงเป็นสถาปัตยกรรมแบบทิวดอร์รอบลานสี่ลาน Gatehouse ทางด้านเหนือยังคงอยู่พร้อมด้วยหอแปดเหลื่ยม เมื่อพระราชวังไวท์ฮอลถูกทำลายจากไฟไหม้ พระราชวังเซนต์เจมส์กลายเป็นที่ประทับทางการของราชวงศ์อังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1698 และใช้เป็นที่ทรงว่าราชการของพระมหากษัตริย์มาจนถึงทุกวันนี้
สมเด็จพระราชินีนาถแมรี สิ้นพระชนม์ในพระราชวัง หัวใจและเครื่องในของพระองค์ถูกฝังไว้ภายในโบสถ์หลวงภายในพระราชวัง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 บรรทมที่นี่คืนหนึ่งระหว่างที่ทรงรอกองทัพเรือสเปนที่ล่องขึ้นมาทางช่องแคบอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 บรรทมที่พระราชวังเซนต์เจมส์คืนก่อนที่จะทรงถูกสำเร็จโทษในปี ค.ศ. 1649 โอลิเวอร์ ครอมเวลล์เปลื่ยนพระราชวังเป็นค่ายทหารระหว่างสมัยสาธารณรัฐอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เปลี่ยนกลับคืนมาเป็นพระราชวังและทรงวางผังอุทยานเซนต์เจมส์

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

เสปน(บุคคล)

พระเจ้าเฟรนานโดที่ 2, พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน หรือ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 แห่งคาสตีล (สเปน: Fernando II de Aragón, อังกฤษ: Ferdinand II of Aragon; 10 มีนาคม พ.ศ. 1995 - 23 มกราคม พ.ศ. 2059) เป็นกษัตริย์แห่งอารากอน(พ.ศ. 2022 - พ.ศ. 2059) ,กษัตริย์แห่งซิชิลี(พ.ศ. 2011 - พ.ศ. 2059) กษัตริย์แห่งเนเปิลส์(พ.ศ. 2047 - พ.ศ. 2059) กษัตริย์แห่งวาเลนเซีย ซาร์ดิเนีย เคานท์แห่งบาร์เซโลนา,กษัตริย์แห่งคาสตีล(พระสวามีในพระราชินีนาถแห่งคาสตีล) (พ.ศ. 2017 - พ.ศ. 2047) และหลังจากนั้นก็เป็นกษัตริย์อย่างแท้จริงแต่แท้จริงแล้วผู้ที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งคาสตีลคือพระธิดาของพระองค์ เจ้าหญิงโจแอนนาผู้วิปลาส


พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน (19 ธันวาคม ค.ศ. 1683 - 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1746) เป็นพระราชโอรสของหลุยส์ โดแฟง แห่งฝรั่งเศส และดัชเชสมาเรีย แอนนา แห่งบาวาเรีย ประสูติ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ และเป็นพระราชนัดดาใน พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงขึ้นครองราชย์ ในปี พ.ศ. 2243 - 2267 และ 2267 - 2289 ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บูร์บงแห่งสเปน สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอสที่ 1 (Juan Carlos I, 5 มกราคม พ.ศ. 2481-) ทรงเป็นประมุของค์ปัจจุบันของราชอาณาจักรสเปน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี และได้เสร็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ตามกฎหมายที่นายพลฟรานซิสโก ฟรังโกได้ตราขึ้นไว้
พระเจ้าฆวนคาร์ลอสที่ 1 ทรงเป็นหนึ่งในพระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร (ราชวงศ์ฮาโนเวอร์) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ราชวงศ์บูร์บอง) จักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) และกษัตริย์ราชวงศ์ซาวอยแห่งอิตาลีอีกด้วย
พระเจ้าฆวนคาร์ลอสที่ 1 ทรงได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีโซเฟีย
โคเซ ลุยส์ โรดรีเกซ ซาปาเตโร (José Luis Rodríguez Zapatero) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศสเปน และเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปนซึ่งได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547 และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2551

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

สเปน(สถานที่)




เทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees) (คาตาลัน: Pirineus; ฝรั่งเศส: Pyrénées; สเปน: Pirineos; อ็อกซิตัน: Pirenèus; อารากอน: Perinés; บาสก์: Pirinioak) เป็นทิวเขาในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสเปน เทือกเขานี้ยังแบ่งคาบสมุทรไอบีเรียออกจากฝรั่งเศสและมีความยาวประมาณ 430 กิโลเมตร (267 ไมล์) จากมหาสมุทรแอตแลนติก (อ่าวบิสเคย์) จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (แหลมเกรอุส)
ส่วนใหญ่แล้ว ยอดเขาหลัก ๆ จะเป็นแนวพรมแดนฝรั่งเศส-สเปน ซึ่งมีอันดอร์ราแทรกอยู่ตรงกลาง ข้อยกเว้นหลักของกฎนี้คือ บัลดารัน (Val d'Aran) ที่เป็นของสเปน แต่ตั้งอยู่ทางลาดเขาด้านเหนือของทิวเขา ส่วนข้อผิดปกติอื่น ๆ ได้แก่ เซร์ดาญา (Cerdanya) และดินแดนส่วนแยกของสเปนที่ชื่อยีเบีย (Llívia)ในทางการปกครอง เทือกเขาพิเรนีสเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัด (départements) ของฝรั่งเศส จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกดังต่อไปนี้ จังหวัดปีเรเน-ออเรียงตาล จังหวัดโอด จังหวัดอารีแอช จังหวัดโอต-การอน จังหวัดโอต-ปีเรเน และจังหวัดปีเรเน-อัตลองตีก (สองจังหวัดหลังยังเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติพิเรนีสอีกด้วย)
เทือกเขาพิเรนีสยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัด (provincias) ของสเปน จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกดังต่อไปนี้ จังหวัดเคโรนา จังหวัดบาร์เซโลนา จังหวัดเยย์ดา จังหวัดอวยสกา จังหวัดซาราโกซา จังหวัดนาวาร์ และจังหวัดกีปุซโกอา
พื้นที่ทั้งหมดของราชรัฐอิสระอันดอร์ราตั้งอยู่ในเทือกเขาพิเรนีส
ส่วนในทางกายภาพ เทือกเขานี้แบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ส่วนกลาง ส่วนตะวันตกหรือแอตแลนติก และส่วนตะวันออก
ยอดเขาอาเนโต เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาพิเรนีส
พิเรนีสตอนกลางขยายไปทางทิศตะวันออก จากช่องเขาซอมพอร์ต (Somport) ผ่านบัลดารัน และครอบคลุมยอดเขาที่สูงที่สุดของทิวเขานี้ไว้ คือ
ยอดเขาอาเนโต (Aneto) หรือยอดเขาเนตู (Néthou) สูง 3,404 เมตร (11,168 ฟุต) ในสันเขามาลาเดตา
ยอดเขามงโปเซ (Mont Posets) สูง 3,375 เมตร (11,072 ฟุต)
ยอดเขามงแปร์ดู (Mont Perdu) หรือมอนเตเปร์ดีโด (Monte Perdido) สูง 3,355 เมตร (11,007 ฟุต)
ในส่วนพิเรนีสตะวันตกนั้น ความสูงเฉลี่ยของทิวเขาจะค่อย ๆ ลดลงจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก จนกระทั่งรวมเข้ากับภูเขาบาสก์ (Basque mountains) ใกล้อ่าวบิสเคย์ และในพิเรนีสตะวันออก นอกจากจุดที่แตกออกไปเพียงแห่งเดียวทางด้านตะวันออกสุดของปีเรเนซารีเยชวส (Pyrénées Ariégeoises) แล้ว ระดับความสูงเฉลี่ยจะยังคงที่เสมอกันอย่างน่าประหลาด จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่ลาดเอียงลงไปกะทันหันในส่วนของแนวเขาที่เรียกว่าอัลแบร์ (Albères)



เมรีดา (สเปน: Mérida) เป็นเมืองหลักของแคว้นเอกซ์เตรมาดูรา ทางภาคตะวันตกของประเทศสเปน ในปี ค.ศ. 2007 มีประชากร 54,893 คน
เมืองเมรีดาได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในชื่อภาษาละตินว่า เอเมรีตาเอากุสตา (Emerita Augusta) [ชื่อเมือง "เมรีดา" กลายเสียงมาจากชื่อนี้] หลังจากที่จักรพรรดิออกุสตุสแห่งจักรวรรดิโรมันได้มีคำสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันช่องทางและสะพานข้ามแม่น้ำกวาเดียนา โดยมีกองทหารโรมัน 2 กลุ่มเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานเดิม ได้แก่ กองทหารที่ 5 อาเลาได (Legio V Alaudae) และ กองทหารที่ 10 เกมีนา (Legio X Gemina) ต่อมาเมืองนี้ได้กลายเป็นเมืองหลวงของจังหวัดลูซีตาเนียของโรมันและเป็นหนึ่งในเมืองที่สำคัญที่สุดของจักรวรรดิ เมรีดาได้อนุรักษ์สถานที่ต่าง ๆ ที่สร้างในสมัยโรมันไว้มากกว่าเมืองอื่น ๆ ของสเปน (รวมทั้งประตูชัยในสมัยจักรพรรดิทราจันด้วย) เนื่องจากเหตุนี้ "กลุ่มโบราณคดีเมรีดา" จึงได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลก

พระราชวังอัลฮามบรา พระราชวังแห่งนี้มีลักษณะเป็นป้อม สร้างในระหว่างคริสต์เตียนที่ 14 เขตพระราชวังประกอบไปด้วยส่วนที่ เป็นป้อมปราการ มีกำแพงและหอรบสร้างด้วยหินสีแดง ทำให้ได้ชื่อในภาษาอาหรับว่า “กาลัตอัลฮามบรา” ซึ่ง แปลว่า ป้อมแดง ตัวพระราชวังประกอบไปด้วยหน้าพระลาน ท้องพระโรง ลานมาลี ลานสิงห์เป็นสนามกว้างที่ มีหินอ่อนแกะสลักประดับประดาไว้อย่างสวยงามและประณีต