หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster) หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รี เป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic)
หลายคนเข้าใจว่าบิกเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิกเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิกเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิกเบนเรียกตัวหอทั้งหมด
บางทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Tower) หรือหอแห่งบิกเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง[1] ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไป [2]
หลายคนเข้าใจว่าบิกเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิกเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิกเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิกเบนเรียกตัวหอทั้งหมด
บางทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Tower) หรือหอแห่งบิกเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง[1] ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไป [2]
ลอนดอนอาย (อังกฤษ: London Eye) หรือยังรู้จักในชื่อ มิลเลเนียมวีล (อังกฤษ: Millennium Wheel) เป็นชิงช้าสวรรค์ที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 135 เมตร (443 ฟุต) และกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างมากในสหราชอาณาจักร มีผู้มาเยือนมากกว่า 3 ล้านคนต่อปี ส่วนบัตรเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่อยู่ที่ 15 ปอนด์ต่อคน ซึ่งในอดีตเคยเป็นชิงช้าสวรรค์ก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก ก่อนจะถูกชิงตำแหน่งไปจากชิงช้าสวรรค์ เดอะ สตาร์ ออฟ นานชาง ในประเทศจีน (160 เมตร) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 ต่อมาภายหลังตำแหน่งตกเป็นของ สิงคโปร์ ฟลายเออร์ ในประเทศสิงคโปร์ (165 เมตร) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 อย่างไรก็ตาม ลอนดอน อาย ก็ยังคงได้รับตำแหน่งจากการให้บริการว่า "ชิงช้าสวรรค์ที่ก่อสร้างด้วยโครงเหล็กค้ำข้างเดียวที่สูงที่สุดในโลก" (เพราะการโครงสร้างทั้งหมดใช้โครงค้ำเหล็กรูปตัว A ในการให้บริการโดยใช้โครงค้ำเพียงแค่ด้านเดียวเท่านั้นไม่เหมือนชิงช้าสวรรค์อื่นๆ ทั่วไป ที่มีโครงค้ำสองข้าง)
ลอนดอน อาย ตั้งอยู่ ณ ที่ฝั่งสุดด้านตะวันตกของสวนจูบิลี่ บนริมฝั่งทางใต้ของแม่น้ำเทมส์ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ระหว่างสะพานเวสต์มินสเตอร์กับสะพานฮันเกอร์ฟอร์ด โดยสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของโดมแห่งการค้นพบ ที่เคยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานนิทรรศการเฟสติวัล ออฟ บริเตน ในปี ค.ศ. 1951
ลอนดอน อาย ตั้งอยู่ ณ ที่ฝั่งสุดด้านตะวันตกของสวนจูบิลี่ บนริมฝั่งทางใต้ของแม่น้ำเทมส์ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ระหว่างสะพานเวสต์มินสเตอร์กับสะพานฮันเกอร์ฟอร์ด โดยสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของโดมแห่งการค้นพบ ที่เคยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานนิทรรศการเฟสติวัล ออฟ บริเตน ในปี ค.ศ. 1951
สโตนเฮนจ์ (อังกฤษ: Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบว้างใหญ่ในบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ ในบริเวณตอนใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันอยู่ในแนวนอน และบางอันก็ถูกวางซ้อนขึ้นไปข้างบน
สโตนเฮนจ์มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินประหลาดซึ่งไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาถึงอายุของมันแล้ว คาดว่ากลุ่มกองหินประหลาดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่า คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ในบริเวณที่ราบดังกล่าว ไม่ใช่บริเวณที่จะมีก้อนหินขนาดมหึมานี้ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมด มาจากที่อื่น ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากบริเวณที่เรียกว่า "ทุ่งมาล์โบโร" ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว
มีผู้สันนิษฐานถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างสโตนเฮนจ์กันหลายประเด็น แต่ประเด็นที่ดูจะได้รับความเชื่อถือมากที่สุดคือ เป็นสถานที่สำหรับการทำพิธีกรรมทางศาสนาของชนกลุ่มที่นับถือลัทธิดรูอิท รองลงมาคือความเชื่อที่ระบุว่า เป็นการสร้างเพื่อหวังผลทางดาราศาสตร์ ใช้ในการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า เช่น สุริยุปราคา เป็นต้น
สโตนเฮนจ์ได้ถูกจัดให้เป็นเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น