วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เยอรมนี(บุคคล)



อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (เยอรมัน: Albert Einstein) (14 มีนาคม พ.ศ. 2422 - 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี"
หลังจากที่ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี พ.ศ. 2458 เขาก็กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยธรรมดานักสำหรับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ในปีต่อ ๆ มา ชื่อเสียงของเขาได้ขยายออกไปมากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ไอน์สไตน์ ได้กลายมาเป็นแบบอย่างของความฉลาดหรืออัจฉริยะ ความนิยมในตัวของเขาทำให้มีการใช้ชื่อไอน์สไตน์ในการโฆษณา หรือแม้แต่การจดทะเบียนชื่อ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" ให้เป็นเครื่องหมายการค้า
ตัวไอน์สไตน์เองมีความระลึกถึงผลกระทบทางสังคม ซึ่งมีผลมาจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่เขาได้เป็นปูชนียบุคคลแห่งความบรรลุทางปัญญา เขายังคงถูกยกย่องให้เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ที่สุดในยุคปัจจุบัน ทุกการสร้างสรรค์ของเขายังคงเป็นที่เคารพนับถือ ทั้งในความเชื่อในความสง่า ความงาม และความรู้แจ้งเห็นจริงในจักรวาล (คือแหล่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่) เป็นสูงสุด ความชาญฉลาดเชิงโครงสร้างของเขาแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของจักรวาล ซึ่งงานเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านผลงานและหลักปรัชญาของเขา ในทุกวันนี้ ไอน์สไตน์ยังคงเป็นที่รู้จักดีในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่สุด ทั้งในวงการวิทยาศาสตร์และนอกวงการ
ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน (เยอรมัน: Ludwig van Beethoven; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 - 26 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี
เบโทเฟนเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคโรแมนติกผู้โดดเดี่ยว และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้ เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่างๆ ที่เป็นรูปเบโธเฟน สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆในชีวิตของเขาได้ ตำนานที่คงอยู่นิรันดร์เนื่องจากได้รับการยกย่องจากคีตกวีโรแมนติกทั้งหลาย เบโทเฟนได้กลายเป็นแบบอย่างของพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นอัจฉริยะที่ไม่มีใครเทียมทาน ซิมโฟนีของเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5 ซิมโฟนีหมายเลข 6 ซิมโฟนีหมายเลข 7 และ ซิมโฟนีหมายเลข 9) และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และ 5) เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็มิได้รวมเอาความเป็นอัจฉริยะทั้งหมดของคีตกวีไว้ในนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เยอรมนี(สถานที่)

ปราสาทนอยชวานชไตน์ (Schloß Neuschwanstein) เป็นปราสาทตั้งอยู่ในเทือกเขาแอลป์แถบแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี สร้างในสมัยพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย ในช่วง ค.ศ. 1845-86 เป็นปราสาทที่งดงามมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก และเป็นต้นแบบของการสร้างปราสาทเทพนิยายเจ้าหญิงนิทรา ที่สวนสนุกดิสนีย์แลนด์ และโตเกียวดิสนีย์แลนด์ รวมไปถึงที่แดนเนรมิต
พระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรียมีพระประสงค์ให้จัดสร้างเพื่อเป็นที่ประทับอย่างสันโดษ ห่างจากผู้คนและเพื่ออุทิศให้แก่กวี ริชาร์ด วากเนอร์ ผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างให้เป็นไปตามบทประพันธ์เรื่อง อัศวินหงษ์ (Swan Knight Lohengrin) ดังนั้นปราสาทแห่งนี้จึงได้รับการตกแต่งตามเรื่องร่าวในบทประพันธ์ดังกล่าว ปราสาทแห่งนี้ได้รับการออกแบบโดย คริสเตียน แยงค์ (Christian Jank) ซึ่งเป็นนักออกแบบทางการละคร มากกว่าที่จะเป็นสถาปนิก
ทุกวันนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยี่ยมชมปราสาทแห่งนี้ถึงปีละ 1.3ล้านคน โดยมากถึงวันละ 6,000 คนในช่วงฤดูร้อน พระราชวังแฮเร็นเคียมเซ หรือ วังใหม่ (ภาษาอังกฤษ: Herrenchiemsee หรือ Neues Schloss) ตั้งอยู่ที่เกาะแฮเร็นกลางทะเลสาบเคียมเซ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้นบาวาเรีย สร้างโดยพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรียตามแบบส่วนกลางของพระราชวังแวร์ซายส์ที่ฝรั่งเศส เป็นวังใหญ่ที่สุดที่ทรงสร้าง
วังใหม่ออกแบบโดยของคริสเตียน แย้งค์, ฟรานซ์ ไซทซ และจอร์จ โดลมันน์ สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1863 ถึงปี ค.ศ. 1886 ทรงใช้ค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 16,579,674 มาร์ค[1] ในการสร้างซึ่งเท่ากับ 4,795,000,000 บาท (ค.ศ. 2007) รัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมนีร่างกันที่วังนี้ในปี ค.ศ. 1948 ในปี ค.ศ. 1995 วังแฮเร็นเคียมเซปรากฏในคอมพิวเตอร์เกมGabriel Knightเกมเกิดขึ้นที่บาวาเรียและเกี่ยวกับลุดวิกที่ 2 และ ริชาร์ด วากเนอร์ วังลินเดอร์ฮอฟ (อังกฤษ: Linderhof) ตั้งอยู่ใกล้เมืองโอเบอร์อัมเมอร์เกาทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นบาวาเรีย เป็นวังที่เล็กที่สุดที่สร้างโดยพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรียก่อนที่จะสร้างลินเดอร์ฮอฟพระเจ้าลุดวิกทรงรู้จักบริเวณนั้นดีจากการเดินทางไปล่าสัตว์ในบริเวณเทือกเขาบาวาเรียแอลป์กับพระบิดาพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 แห่งบาวาเรียเมื่อยังทรงพระเยาว์ เมื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1869 ลุดวิกไดัรับ “ตำหนักเคอนิกเฮาเชน” (Königshäuschen) เมื่อเริ่มแรกก็ทรงขยายตำหนักเดิมแต่ต่อมาก็ทรงสั่งให้ย้ายตำหนักเคอนิกเฮาเชนไปตั้งในบริเวณอื่น และบนสิ่งก่อสร้างรูปตัว “U” ที่ยังเหลืออยู่ทรงเพิ่มห้องสามห้องและบันได ด้านหน้าตกแต่งที่เคยเป็นไม้ก็ทรงสั่งให้หุ้มด้วยหิน ตัวสิ่งก่อสร้างเป็นแบบโรโคโค
พระราชวังนิมเฟนเบิร์ก (ภาษาอังกฤษ: Nymphenburg Palace) ตั้งอยู่ที่มิวนิคในแคว้นบาวาเรียในประเทศเยอรมนี นิมเฟนเบิร์กเป็นวังฤดูร้อนของพระราชวงศ์ผู้ปกครองบาวาเรีย ผู้ริเริ่มสร้างปราสาทคือเฟอร์ดินานด์ มาเรีย เจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย และ เฮ็นเรียตตา อเดลเลดแห่งซาวอยตามแบบของสถาปนิกอากอสติโน บาเรลลิในปี ค.ศ. 1664 หลังจากทรงมีพระโอรสองค์แรก, แม็กซิมิลเลียน ที่ 2 เอ็มมานูเอลเจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรีย ส่วนกลางของวังสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1675 ปราสาทโฮเฮ็นชวานเกา (Schloss Hohenschwangau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านชวานเกาใกล้เมืองฟึสเส็นทางตอนใต้ของแคว้นบาวาเรียในประเทศเยอรมนี เป็นปราสาทที่พระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรียประทับเมื่อยังทรงพระเยาว์
ตัวปราสาทสร้างบนซากปราสาทชวานสไตน์เดิมซึ่งกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปราสาทเดิมสร้างโดยครอบครัวของอัศวิน หลังจากการยุบเลิกระบบอัศวินในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปราสาทก็เปลี่ยนมือหลายครั้ง และตัวปราสาทก็เสื่อมโทรมลงจนเหลือแต่ทรากเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
ในปี ค.ศ. 1829 มงกุฏราชกุมารแม็กซิมิลเลียนแห่งบาวาเรียผู้ต่อมาเป็นพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 แห่งบาวาเรียทรงพบว่าปราสาทนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่มีสิ่งแวดล้อมเป็นที่ต้องตา ทรงถูกพระทัยจึงได้ซึ้อปราสาทเมื่อปี ค.ศ. 1832 ปีหนึ่งต่อมาการก่อสร้างปราสาทใหม่ก็เริ่มขึ้นและสร้างต่อมาจนถึง ค.ศ. 1837 โดยมีสถาปนิกโดเมนนิโค ควากลิโอเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างปราสาทให้เป็นแบบฟื้นฟูกอธิค
ปราสาทโฮเฮ็นชวานเกาสร้างเป็นพระราชวังฤดูร้อนและล่าสัตว์ของพระเจ้าแม็กซิมิลเลียน, เจ้าหญิงมารีแห่งปรัสเซียพระชายา และพระโอรสสององค์ -- เจ้าชายลุดวิกและ เจ้าชายอ็อตโต พระเจ้าแม็กซิมิลเลียนและพระชายาประทับอยู่ในตัวปราสาทใหญ่ และพระโอรสในส่วนที่ต่อเติม
เมื่อพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1864 พระราชโอรสเจ้าชายลุดวิกก็ขึ้นครองต่อเป็นพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย ทรงย้ายจากส่วนที่ต่อเติมไปอยู่ในห้องบรรทมของพระบิดาและมารดา ในเมื่อลุดวิกไม่ทรงมีครอบครัว เจ้าหญิงมารีแห่งปรัสเซียพระมารดาจึงทรงประทับอยู่ที่ปราสาทได้ พระเจ้าลุดวิกทรงโปรดการพำนักอยู่ที่โฮเฮ็นชวานเกาโดยเฉพาะเมื่อทรงเริ่มสร้างปราสาทนอยชวานชไตน์บนเนินเหนือโฮเฮ็นชวานเกาไม่ไกลเท่าใดนัก
เมื่อพระเจ้าลุดวิกที่ 2 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1886 พระราชินีมารีแห่งปรัสเซียทรงเป็นผู้เดียวที่อาศัยอยู่ในโฮเฮ็นชวานเกาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1889 ต่อมาพระปิตุลาของลุดวิกเจ้าชายลุทโพลด์แห่งบาวาเรียก็มาประทับอยู่บนชั้นสาม และทรงเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตั้งไฟฟ้าและลิฟต์ในปราสาทในปี ค.ศ. 1905 เมื่อเจ้าชายลุทโพลด์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1912 วังก็กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ในปีต่อมา
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1และสงครามโลกครั้งที่ 2ปราสาทได้รับความเสียหาย ในปี ค.ศ. 1923 รัฐบาลบาวาเรียยอมรับสิทธิในการพำนักอาศัยในปราสาทของอดีตราชวงศ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1933 ถึงปี ค.ศ. 1939 มกุฎราชกุมารรูพเพร็คแห่งบาวาเรีย (Crown Prince Rupprecht of Bavaria) และครอบครัวใช้ปราสาทเป็นวังฤดูร้อนและเป็นที่โปรดปรานของผู้สืบต่อมา
ปีหนึ่งๆ จะมีผู้เข้าเยี่ยมชมปราสาทโฮเฮ็นชวานเกาประมาณปีละ 300,000 คน

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นครรัฐวาติกัน

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Basilica of Saint Peter, ภาษาละติน: Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้นๆว่าเซนต์ปีเตอร์บาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) มหาวิหารนี้เป็นมหาวิหารหนึ่งในสี่ของมหาวิหารหลักในกรุงโรม, ประเทศอิตาลี (อีกสามมหาวิหารคือ: มหาวิหารเซ็นต์จอห์นแลเตอร์รัน, มหาวิหารซานตามาเรียมายอเร และ มหาวิหารเซ็นต์พอลนอกกำแพง

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกันสร้างทับวิหารเดิมที่ชื่อเดียวกัน โดมของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์สูงโดดเด่นสามารถเห็นได้แต่ไกลในตัวเมืองโรม วัดนี้ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 2.3 เฮกตาร์ สามารถจุคนได้กว่า 60,000 คน[1] เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่หนึ่งของคริสตชนนิกายโรมันคาทอลิก ที่ตั้งวัดเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังร่างของ นักบุญปีเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาวกสิบสององค์ของพระเยซู นักบุญปีเตอร์เดิมเป็นบาทหลวงองค์แรกของอันติโอก (Antioch) ต่อมาก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกของโรม เพราะนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อกันว่าร่างของนักบุญปีเตอร์ถูกฝังไว้ที่นี่ จึงเป็นประเพณีกันต่อมาว่าพระสันตะปาปาหลายองค์ก็ฝังไว้ที่วัดนี้
ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1506 บนวัดแบบคอนแสตนทีน และเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1626
แต่เดิมนั้นมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์มิได้เป็นสถานที่พำนักประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปาเช่นปัจจุบันนี้ (สถานที่ประจำตำแหน่งของสันตะปาปาเดิมอยู่ที่มหาวิหารเซ็นต์จอห์น แลเตอร์รัน) ถึงกระนั้นก็ยังถือกันว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ในตัวนครรัฐวาติกันเอง และมีเนื้อที่มาก การทำพิธีต่างๆที่เกี่ยวกับพระสันตะปาปาก็จะมาทำกันที่นี่ นอกจากนั้นก็ยังมีบัลลังก์บิชอปปีเตอร์ (Cathedra Petri) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบัลลังก์ของนักบุญปีเตอร์เองเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นสันตะปาปาที่นี่ แต่ปัจจุบันนี้เก้าอี้นี้ไม่ได้ใช้เป็นบัลลังก์บิชอปอีกแล้ว แต่ยังเก็บไว้ไต้ฐานแท่นบูชาที่ออกแบบโดยจานลอเรนโซ เบร์นินี[2]

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่าเป็นวัดศตวรรษที่ 4 ซึ่งมีรูปทรงแบบบาซิลิคา พอมาถึง ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาก็อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมากเพราะพระสันตะปาปาย้ายที่พำนักไปอยู่ที่เมืองอาวินยอง (Avignon) ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1309 ถึงปี ค.ศ. 1377 การตัดสินใจสร้างมหาวิหารใหม่ก็เพื่อจะได้สร้างมหาวิหารที่ใหม่กว่าและใหญ่กว่าเดิมมากได้สะดวก การใช้ชื่อมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่าก็ใช้มาตั้งแต่เมื่อสร้างมหาวิหารปัจจุบัน เพี่อเป็นการแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งก่อสร้างปัจจุบันและสิ่งก่อสร้างเดิม[3]เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ระหว่างการออกอากาศทางวิทยุสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12ประกาศว่าได้มีการค้นพบที่ฝังพระศพของนักบุญปีเตอร์[4] หลังจากที่นักโบราณคดีใช้เวลา 10 ปีศึกษาขุดค้นห้องใต้ดิน (crypt) ภายในมหาวิหาร

ปีเอต้า (อังกฤษ: Pietà; ละติน; pietas) มาจากภาษาอิตาลี ที่แปลว่า ความสงสาร คือหัวเรื่องของคริสต์ศิลปที่เป็นรูปพระแม่มารีประคองร่างพระเยซูที่เอาลงมาจากกางเขน ส่วนใหญ่จะพบในงานประติมากรรม Pietà เป็นหัวเรื่องหนึ่งในชุด “พระแม่มารีผู้เศร้า” (Our Lady of Sorrows) และเป็นฉากหนึ่งใน “ทุกขกิริยาของพระเยซู” ซึ่งเป็นฉากที่มีพระแม่มารี แมรี แม็กดาเลน และบุคคลอื่นล้อมร่างของพระเยซู (หลังจากที่เอาร่างของพระองค์ลงมาจากกางเขน)ด้วยความความโศรกเศร้า ฉากนี้ตามความเป็นจริงแล้วควรจะเรียกว่า “Lamentation” แต่บางที่ก็จะใช้คำว่า “Pietà” แทน
คำว่า “pietas” สืบมาจากประเพณีของชาวโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 7ที่มีการตึอกชกหัวและ "แสดงอารมณ์...ความรักอันใหญ่หลวงและความกลัวอำนาจของเทพเจ้าโรมัน"
ปีเอต้า เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16[1] ปีเอต้าแบบ เยอรมัน และ โปแลนด์จะเน้นรอยแผลของพระเยซู

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฝรั่งเศส(บุคคลสำคัญ)

ในค.ศ. 1660 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงอภิเษกกับองค์หญิงมาเรีย เธเรซา พระธิดาของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปน ซึ่งพระเจ้าฟิลิปก็ป้องกันการอ้างสิทธิของฝรั่งเศสโดยการให้องค์หญิงมาเรียเธเรซาสละสิทธิ์ในดินแดนของสเปนทุกส่วน โดยมีสินสอด (ฝ่ายหญิงให้ฝ่ายชาย) จำนวนมหาศาลเป็นค่าตอบแทน ในค.ศ. 1661 พระเจ้าหลุยส์ทรงแต่งตั้งให้ชอง-บาพ์ติสต์ โกลแบร์ต(Jean-Baptiste Colbert) เป็นเสนาบดีคลัง โกลแบร์ตสามารกอบกู้สถานะทางการเงินของฝรั่งเศสที่ใกล้จะล้มละลาย โดยการเก็บภาษีแบบใหม่ ทำให้เงินในพระคลังเพิ่มเป็นสามเท่า เป็นที่มาของความฟุ่มเฟือยในราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่แวร์ซาย พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ยังทรงพระเยาว์จนต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนหลายคน เริ่มที่ดยุคแห่งออร์เลียงส์ เข้าร่วมสงครามจตุรมิตร (War of the Quadraple Alliance - ประกอบด้วยฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์ - ไม่เกี่ยวกับสี่โรงเรียน)เมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งสเปนและราชินีอลิซาเบธ ฟาร์เนสที่ทะเยอทะยาน ต้องการกอบกู้ดินแดนในอิตาลีและประเทศภาคต่ำที่เสียไปในสงครามสืบราชสมบัติสเปน ผลคือความพ่ายแพ้ของสเปน ต่อมาคาร์ดินัล เฟลอรี (Cardinal Fleury) ทำสงครามสืบราชสมบัติโปแลนด์ (War of the Polish Succession)สตานิสลาส เลสเซนสกี ต้องการเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ แต่จักรพรรดิโรมันฯต่อต้าน ฝรั่งเศสเห็นโอกาสที่จะทำลายอำนาจออสเตรีย จึงทำสงคราม แต่สนธิสัญญาเวียนนาในค.ศ. 1735 เลสเซนสกีได้เป็นดยุคแห่งลอร์เรน ซึ่งเมื่อเลสเซนสกีเสียชีวิตในค.ศ. 1766 แคว้นลอร์เรนจึงตกเป้นของฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสมีอาณาเขตถึงปัจจุบัน ความฟุ่มเฟือยของราชสำนักและสงครามที่พ่ายแพ้ทำให้เศรษฐกิจของฝรั่งเศสตกต่ำลง พระคลังเป็นหนี้ทั่วยุโรป พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้ที่มีความสามารถเพื่อกอบกู้สถานการณ์ เช่น ตูร์โกต์ ซึ่งพยายามจะเก็บภาษีแบบใหม่ๆ แต่ประชาชนถูกเก็บภาษีหลายประเภทแล้ว เลยพากันฐานะยากจนกันไปหมด จึงเห็บภาษีจากสินค้าต่างๆแทน แต่บรรดาขุนนางอ้างว่ากษัตริย์ไม่ทรงมีพระราชอำนาจที่จะตั้งภาษีใหม่ แต่เป็นสภาฐานันดร (Estates-General) ต่างหาก พระเจ้าหลุยส์ทรงเห้นว่าตูร์โกต์ใช้ไม่ได้ แลยตั้งเนคแกร์ขึ้นมาแทนในค.ศ. 1776 พอดีกับอาณานิคมของบริเทนในอเมริกาประกาศเอกราชในสงครามปฏิวัติอเมริกา เนคแกร์ให้สนับสนุนฝ่ายอเมริกาโดยส่งมาร์ควิสแห่งลาฟาแยตไปช่วย จนฝ่ายอเมริกามาประกาศเอกราชที่ปารีสในค.ศ. 1783

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฝรั่งเศส(สถานที่ 3)

มหาวิหารแรงส์ หรือ มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแรงส์[1] (Cathédrale Notre-Dame de Reims) เป็นมหาวิหารของเมืองแรงส์ ประเทศฝรั่งเศส ที่เคยใช้ในพิธีสวมมงกุฎกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างบนมหาวิหารเดิมที่ถูกไหม้ไปเมื่อค.ศ. 1211 ที่พระเจ้าโคลวิสที่ 1ผู้ถือกันว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกของฝรั่งเศสได้ทำพิธีรับศีลจุ่มจากนักบุญเรมี (St. Remi) บาทหลวงของเมืองแรงส์เมื่อค.ศ. 496มหาวิหารสร้างเสร็จเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ยกเว้นด้านหน้าซึ่งมาเสร็จเอาอีกศตวรรษหนึ่งต่อมา แต่ยังเป็นสถาปัตยกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางเดินกลางขยายให้ยาวขึ้นเพื่อให้มีเนื้อที่เพียงพอกับผู้ที่เข้าร่วมพิธีสวมมงกุฎ หอสูง 81 เมตรย่อจากแบบเดิมที่ออกแบบให้สูง 120 เมตร หอด้านใต้มีระฆังสองใบ ใบหนึ่งคาร์ดินาลแห่งลอเรนตั้งชื่อให้ว่า “ชาร์ลอต” เมื่อปีค.ศ. 1570 ซึ่งหนักกว่า 10,000 กิโลกรัมหรือ 11 ตัน
เมื่อปี ค.ศ. 1875 รัฐสภาแห่งประเทศฝรั่งเศสอนุมัติเงินจำนวน 80,000 ปอนด์เพื่อปฏิสังขรณ์ด้านหน้ามหาวิหาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของมหาวิหาร และนับว่าเป็นงานฝีมือชิ้นเอกจากยุคกลาง เมื่อมหาวิหารโดนระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็ได้ทำลายบริเวณสำคัญๆ ของมหาวิหารไปมาก การบูรณะปฏิสังขรณ์เริ่มอีกครั้งเมื่อปี ค.ศ. 1919 และมาเสร็จเมื่อในปี ค.ศ. 1938 แต่การซ่อมก็ยังทำต่อเนื่องกันมาโดยมิได้หยุดยั้งจนทุกวันนี้



แอบบีแซงต์-เรอมีแห่งแรงส์ (อังกฤษ: Abbey of Saint-Remi) เป็นอดีตแอบบีหรือแอบบีที่ตั้งอยู่ในเมืองแรงส์ในประเทศฝรั่งเศส แอบบีแซงต์-เรอมีก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1099[1] แอบบีก็เป็นที่เก็บวัตถุมงคลของนักบุญเรอมีผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 553 สังฆราชแห่งแรงส์ผู้เปลี่ยนพระเจ้าโคลวิสที่ 1 กษัตริย์ของชนแฟรงค์ให้หันมานับถือคริสต์ศาสนาเมื่อวันคริสต์มาสปี ค.ศ. 496 หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอาลามานนี (Alamanni) ในยุทธการโทลบิแย็ค (Battle of Tolbiac)
บาซิลิกาปัจจุบันเดิมเป็นสำนักสงฆ์มาก่อนและได้รับการสถาปนาโดยสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 9 ในปี ค.ศ. 1049 ทางเดินกลางและแขนกางเขนสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นแบบโรมาเนสก์และเป็นส่วนที่เก่าที่สุด ด้านหน้าทางด้านใต้เป็นส่วนที่สร้างใหม่ที่สุด มงแซง-มีแชล (อังกฤษ: Mont Saint-Michel) คือวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยว กลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณแคว้นนอร์มองดีของประเทศฝรั่งเศส ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ภายใต้ชื่อ มงแซง-มีแชลและอ่าว
ในปีหนึ่งจะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมงแซง-มีแชลกว่า 3 ล้าน 2 แสนคน ซึ่งทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยงยอดนิยมอันดับที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศสรองลงมาจากหอไอเฟลและพระราชวังแวร์ซาย
ตัวเกาะอันเป็นที่ตั้งของวิหารนั้นเป็นหินแกรนิต โดยมีเส้นรอบวงเกาะประมาณ 960 เมตร และสูง 92 เมตร แล้วถ้าบวกกับความสูงของตัววิหารนั้นแล้วก็จะมีความสูงถึง 155 แมตร บนยอดวิหารเป็นรูปปั้นทองของเทวดามิเชล (ไมเคิล) สร้างโดย เอมานูแอล เฟรมีเย (Emmanuel Frémiet)ก่อนที่จะมีการสถานปนาราชวงศ์แรกของฝรั่งเศสขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกาะนี้เคยถูกเรียกว่า มงตงบ์ (Mont Tombe) และตามตำนาน วิหารที่อยู่บนเกาะนี้ถูกสร้างโดยการแนะนำของเทวดามีแชล ที่ได้เข้าฝันนักบุญโอแบร์ บิชอปแห่งมาฟรองช์เมื่อปี พ.ศ. 1251 แต่เขาก็มิได้ปฏิบัติตาม เนื่องจากนึกว่าปีศาจได้มาเข้าฝัน เขาจึงได้เพิกเฉยไป จนมาถึงการฝันครั้งที่ 3 มีแชลได้ใช้นิ้วของเขาจิ้มที่หัวของโอแบร์ และเมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาก็ได้ตะลึงว่ามีรูอยู่บนหัวจริง ๆ จากนั้นมาเขาจึงตัดสินใจสร้างวิหารบนยอดเขา
มหาวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ทร์ (อังกฤษ: Chartres Cathedral, ฝรั่งเศส: Cathédrale Notre-Dame de Chartres) เปฺนคริสต์ศาสนสถานโรมันคาทอลิกระดับมหาวิหารที่ตั้งอยู่ที่เมืองชาร์ทร์ในประเทศฝรั่งเศส (ราว 80 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้) ของปารีส เป็นสิ่งก่อสร้างกอธิคชิ้นที่งามที่สุดชิ้นหนึ่งของฝรั่งเศส
เมื่อมองจากนอกเมืองมหาวิหารเหมือนกับผุดขึ้นมาจากทุ่งข้าวสาลีจนเมื่อเข้าไปใกล้เข้าจึงเห็นว่าตั้งอยู่เหนือกลุ่มบ้านเรือนที่เกาะกันเป็นกระจุกบนเนินรอบๆ ด้านหน้ามหาวิหารเป็นหอสองหอที่มีลักษณะต่างกัน — หอหนึ่งเป็นหอปิรามิดเรียบๆ ที่สร้างราวคริสต์ทศวรรษ 1140 ที่สูง 105 เมตร อีกหอหนึ่งสูง 113 เมตร สร้างราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ตกแต่งอย่างวิจิตรกว่าหอแรก ภายนอกมหาวิหารเป็นค้ำยันแบบปีกที่กางออกไปรอบตัวมหาวิหาร
“มหาวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ทร์”[1] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1979 มหาวิหารแห่งชาร์ตเป็นมหาวิหารที่ใช้เวลาในการสร้างยาวนานกว่า 70 ปี
พระราชวังพระสันตะปาปาแห่งอาวินยอง (ฝรั่งเศส: Palais des Papes) เป็นพระราชวังของพระสันตะปาปาที่ตั้งอยู่ที่อาวินยองในประเทศฝรั่งเศส เป็นสิ่งก่อสร้างของสถาปัตยกรรมกอธิคที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป
“พระราชวังพระสันตะปาปาแห่งอาวินยอง”[1] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1995อาวินยองกลายมาเป็นที่ประทับของพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 1309 เมื่อแกสคอง แบร์ทรองด์ เดอ กอธในฐานะสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 5 ไม่ทรงมีพระประสงค์ที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายต่างในกรุงโรมหลังจากที่ทรงได้รับเลือกในปี ค.ศ. 1305 พระองค์จึงทรงย้ายสำนักงานการบริหารของพระสันตะปาปา (Papal Curia) ไปตั้งที่อาวินยองในสมัยที่ต่อมาเรียกกันว่า “ราชสำนักพระสันตะปาปาอาวินยอง” พระสันตะปาปาคลีเมนต์ประทับเป็นแขกของสำนักสงฆ์โดมินิคันในอาวินยอง สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 22พระสันตะปาปาองค์ต่อมา ทรงก่อตั้งราชสำนักอันหรูหราขึ้นที่นั่น แต่สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 12 ผู้ทรงเป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อมาทรงเป็นผู้ริเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์วังสังฆราชเก่าอย่างจริงจัง และกระทำต่อมาในสมัยของพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 6

ฝรั่งเศส(สถานที่ 2)

ปองดูการ์เป็นสะพานส่งนำโบราณสถาปัตยกรรมโรมันสรางขึ้นเพื่อลำเลียงนำจืดข้ามแม่น้ำกาดอนไปยังเมืองนีมส์ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส สะพานสูง49เมตรยาว274เมตร ปองดูการ์ดสรางโดยทหารโรมันเมื่อตอนต้นศตวรรษเเรกของคริสต์ศักราช เพื่อนำน้ำจากบ่อน้ำเเร่ใกล้เมืองอูซส์ ไปใช้ในเมืองนีมส์ ปองดูการ์ดเป็นส่วนหนึ้งของระบบส่งนำ ระยะทางยาว 50 กิโลเมตร ลำเลียงนจากบ่อน้ำเเร่ไปยังเเมองนีมส์ บ่อน้ำเเร่อยู่สูงจากเมืองนีมส์ 17 เมตร วิศวกรโรมันการคำนวนง่ายๆ กับกฏเเรงโน้มถ่วงของโลกช่วยในการส่งน้ำ ทำให้ชาวโรมันสามารถนำน้ำเเร่ไปใช้ในเมืองนีมส์ได้เป็นเวลานานถึ 300ปี นับว่าเป็นผลสเร็จด้าวิศวกรรมของชาวโรมันอย่างงดงาม พระราชวังแวร์ซายส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองแวร์ซายส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหานครปารีส พระราชวังแวร์ซายส์เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วยเดิมนั้น เมืองแวร์ซายส์เป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายส์น่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง
การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายส์แห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารี อองตัวเนต ประหารด้วย "กิโยติน" ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายส์ยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ มหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์ก (อังกฤษ: Bourges Cathedral หรือ Cathedral St. Stephen) เปฺ็นคริสต์ศาสนสถานระดับมหาวิหารที่ตั้งอยู่ที่บูร์กในประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กเป็นที่นั่งของสังฆราชของสังฆมณฑลบูร์ก
“มหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์ก”[1] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1992การก่อสร้างมหาวิหารเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1195 ในปีเดียวกันกับมหาวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ตร์ บริเวณบริเวณร้องเพลงสวดสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1214, ทางเดินกลางระหว่างปี ค.ศ. 1225 ถึงปี ค.ศ. 1250 และด้านหน้าในปี ค.ศ. 1270 สถาปนิกคือ Paul-Louis Boeswillwald และนายช่างก่อสร้างใหญ่คือ Philip Berruyer
มหาวิหารอาเมียง (ภาษาฝรั่งเศส: Cathédrale Notre-Dame d'Amiens; ภาษาอังกฤษ: Amiens Cathedral) มีชื่อเต็มว่า “Cathédrale Notre-Dame d'Amiens” หรือในภาษาอังกฤษว่า “Cathedral of Our Lady of Amiens” เป็นมหาวิหารที่สูงที่สุดในประเทศฝรั่งเศส มีเนื้อที่ภายในกว้างใหญ่ถึง 200,000 ตารางเมตร หลังคาโค้งกอธิคสูง 42.30 เมตรซึ่งเป็นหลังคากอธิคที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส ตัวมหาวิหารตั้งอยู่ที่เมืองอาเมียงซึ่งเป็นเมืองสำคัญของพิคาร์ดี (Picardy) ในหุบเขาซอม (Somme) อยู่เหนือจากปารีสประมาณ 100 กิโลเมตรด้านหน้าวัดสร้างรวดเดียวเสร็จ--ระหว่างปี ค. ศ. 1220 ถึงปี ค. ศ. 1236--ลักษณะจึงกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตอนล่างสุดของด้านหน้าวัดเป็นประตูเว้าลึกใหญ่สามประตู เหนือระดับประตูขึ้นไปชั้นหนึ่งเป็นหินสลักขนาดใหญ่กว่าคนจริงของพระเจ้าแผ่นดิน 22 พระองค์เรียงเป็นแนวตลอดด้านหน้ามหาวิหารภายใต้หน้าต่างกุหลาบ สองข้างด้านหน้าประกบด้วยหอใหญ่สองหอ หอด้านใต้สร้างเสร็จเมื่อปี ค. ศ. 1366 หอทางทิศเหนือสร้างเสร็จ 40 ปีต่อมาเมื่อปี ค. ศ. 1406 และเป็นหอที่สูงกว่า
เอกสารที่เกี่ยวกับประวัติการสร้างมหาวิหารนี้ถูกทำลายไปหมดเมื่อสถานที่เก็บรักษาเอกสารสำคัญของวัดถูกไฟไหม้ไปเมื่อปีค. ศ. 1218 และอีกครั้งเมื่อปีค. ศ. 1258 ครั้งหลังนี้ไฟได้ทำลายตัวมหาวิหารด้วย บาทหลวงเอฟราดเดอฟุยอี (Bishop Evrard de Fouilly) เริ่มสร้างมหาวิหารใหม่แทนมหาวิหารเดิมที่ไหม้ไปเมื่อ ค. ศ. 1220 โดยมีโรแบร์ต เดอ ลูซาส (Robert de Luzarches) เป็นสถาปนิก และลูกชายของโรแบร์ต--เรนอด เดอ คอร์มองท์ (Renaud de Cormont) เป็นสถาปนิกต่อมาจนถึงค. ศ. 1288
จดหมายเหตุคอร์บี (Chronicle of Corbie) บันทึกไว้ว่ามหาวิหารสร้างเสร็จเมื่อ ค. ศ. 1266 แต่ก็ยังมีการปิดงานต่อมา พื้นโถงกลางภายในมหาวิหารตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ หลายชนิดรวมทั้งลายสวัสดิกะ[1] ลายวนเขาวงกต (labyrinth) ซึ่งปูเมื่อปีค. ศ. 1288 นอกจากนั้นก็มีระเบียงรูปปั้นไม่ใหญ่นัก 3 ระเบียง 2 ระเบียงอยู่ด้านเหนือและด้านใต้ของบริเวณร้องเพลงสวด และระเบียงที่ 3 อยู่ทางด้านตะวันเหนือของแขนกางเขน เป็นเรื่องราวของนักบุญต่างๆ รวมทั้งชีวะประวัติของนักบุญจอห์น แบ็พทิสต์ มหาวิหารกล่าวว่าเป็นเจ้าของวัตถุมงคลที่สำคัญคือพระเศียรของนักบุญจอห์น แบ็พทิสต์ ซึ่งวัดได้มาจาก วอลลัน เดอ ซาตอง (Wallon de Sarton) ผู้ไปนำมาจากคอนสแตนติโนเปิล เมื่อกลับมาจากสงครามครูเสด ครั้งที่ 4
รูปปั้นด้านหน้าข้างประตูมหาวิหารที่บอกได้ว่าเป็นนักบุญที่มาจากแถวๆ อาเมียงก็ได้แก่ นักบุญวิคทอเรียส, ฟูเซียน, และเจ็นเตียง (St. Victoricus, St. Fuscian, และ St. Gentian) ผู้พลีชีพเพื่อศาสนาไม่นานจากกันในคริสต์ศควรรษที่ 3 กล่าวกันว่าเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 บาทหลวงโฮโนราทุส (Bishop Honoratus) ผู้เป็นบาทหลวงองค์ที่ 7 ของมหาวิหารอาเมียงได้ขุดพบวัตถุมงคลของนักบุญทั้งสาม เมื่อพระเจ้าชิเดอแบรต์ที่ 2แห่งปารีส (Childebert II) พยายามยึดวัตถุมงคลก็ไม่สามารถทำได้ เมื่อไม่สามารถทำได้ก็ทรงอุทิศเงินก้อนใหญ่ให้กลุ่มลัทธิของผู้นิยมนักบุญทั้งสามและทรงส่งช่างทองมาทำเครื่องตกแต่งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญ[1]
นักบุญอื่นที่เป็นนักบุญท้องถิ่นที่มีรูปปั้นอยู่หน้าประตูคือนักบุญโดมิเทียส (St. Domitius) ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ผู้เคยเป็นนักบวชที่มหาวิหาร นักบุญอุลเฟีย (St. Ulphia) ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ผู้เคยเป็นลูกศิษย์ของนักบุญอุลเฟียและเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มสตรีผู้เคร่งศาสนาในบริเวณอาเมียง นักบุญแฟแมง (St Fermin) ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ผู้ถูกประหารชีวิตที่อาเมียง [2]

ฝรั่งเศส(สถานที่)


หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอฟแฟล; อังกฤษ: Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย
หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร (79 ฟุต)) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น
เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร หรือ 689 ฟุต) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร หรือ 738.36 ฟุต)


มหาวิหารโนตเรอดาม (ฝรั่งเศส: Cathédrale Notre Dame de Paris, กาเตดราลโนตเรอดามเดอปารี) เป็นมหาวิหารสมัยกอธิค ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า Notre Dame ในชื่อวัดนั้นแปลว่า "Our Lady" ปัจจุบันมหาวิหารก็ยังใช้เป็นวัดของนิกายโรมันคาทอลิกและเป็นที่นั่งของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส มหาวิหารนอเทรอดามถือกันว่าเป็นวัดที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอธิคแบบฝรั่งเศส วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแชน วีโยเล-เลอ-ดุก (Eugène Viollet-le-Duc) ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส
การก่อสร้างเป็นแบบกอธิคเป็นมหาวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างก็ทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอธิค ปฏิมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ (Naturalism) ทำให้แตกต่างจาก ศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น
นอเทรอดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "กำแพงค้ำยันแบบปีกนก" (flying buttress) ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบมหาวิหาร "Choir" หรือ รอบทางเดินกลางของตัววัด (nave) เมื่อเริ่มสร้างกำแพงวัดสูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอธิคจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัววัดเอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของวัดที่สร้างแบบกอธิคไปในตัว
ราวปี ค.ศ. 1790 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสวัดก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก มหาวิหารได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำลาย



ประตูชัยฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Arc de triomphe de l'Étoile) เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่กลางจัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (Place Charles de Gaulle) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม จัตุรัสแห่งดวงดาว (Place de l'Étoile) อยู่ทางทิศตะวันตกของชองป์-เซลิเซ่ส์ ประตูชัยแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการสดุดีวีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามนโปเลียน และในปัจจุบันยังเป็นสุสานของทหารนิรนามอีกด้วย
ประตูชัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "แนวเส้นตรงทางประวัติศาสตร์" (L'Axe historique) ซึ่งเป็นถนนเส้นตรงจากสวนพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ไปยังชานเมืองปารีส ประตูชัยแห่งนี้ออกแบบโดยฌอง ชาลแกร็งในปี พ.ศ. 2349 โดยมียุวชนเปลือยชาวฝรั่งเศสกำลังต่อสู้กับทหารเยอรมัน เต็มไปด้วยเคราและใส่เกราะเป็นสัญลักษณ์เพื่อเป็นการปลุกใจ และเป็นอนุสรณ์สถานจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1
ประตูชัยฝรั่งเศสมีความสูง 49.5 เมตร (165 ฟุต) กว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) และลึก 22 เมตร (72 ฟุต) เป็นประตูชัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[1] แบบของประตูชัยฝรั่งเศสนี้ได้แนวความคิดมาจากประตูชัยไตตัส ประตูชัยฝรั่งเศสมีความใหญ่มาก เพราะหลังจากมีการสวนสนามในปรุงปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2462 ชาร์ลส์ โกดฟรัว ได้ขับเครื่องบินนีอูปอร์ต (Nieuport) ผ่านกลางประตูชัยฝรั่งเศสเพื่อเป็นการสดุดีเหล่าทหารอากาศที่ได้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1


พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (ฝรั่งเศส: Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะอันตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณะชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์คาเปเทียง ตัวอาคารเดิมทีเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่ง Antioch ในปี พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] และยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เป สถาปนิกชาวจีน-อเมริกัน

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อิตาลี(บุคคลสำคัญ)




เลโอนาร์โด ดา วินชี (อิตาลี: Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ. ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น เลโอนาร์โด เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน โดยที่ที่เขาเกิดอยู่ห่างจากหมู่บ้านวินชี ในประเทศอิตาลี ไปราวสองกิโลเมตร บิดาชื่อนายแซร์ ปีเอโร ดา วินชี เป็นเจ้าพนักงานรับรองเอกสารของรัฐ มารดาชื่อคาตารีนา เป็นสาวชาวนา เคยมีคนอ้างว่านางคาตารีนาเป็นทาสสาวจากประเทศแถบตะวันออกในครอบครองของปีเอโร แต่ก็ไม่มีหลักฐานเด่นชัด
ในสมัยนั้นยังไม่มีมาตรฐานการเรียกชื่อและนามสกุลที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป ทำให้ชื่อและนามสกุลของดา วินชี ที่แท้จริงคือ เลโอนาร์โด ดิ แซร์ ปีเอโร ดา วินชี ซึ่งหมายความว่า เลโอนาร์โด บุตรชายของปีเอโร แห่ง วินชี แต่เลโอนาร์โดเองก็มักจะลงลายเซ็นในงานของเขาอย่างง่ายๆว่า เลโอนาร์โด หรือไม่ก็ ข้าเอง เลโอนาร์โด เอกสารสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่าผลงานของเขาเป็นของ เลโอนาร์โด โดยไม่มี ดา วินชี พ่วงท้าย ทำให้เข้าใจได้ว่าเขาไม่ได้ใช้นามสกุลของบิดาเนื่องจากเป็นบุตรนอกสมรสนั่นเอง






มีเกลันเจโล หรือชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บัวนาร์โรตี ซีโมนี (อังกฤษ: Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดังชาวอิตาลี
ศิลปินที่เข้าถึง 3 ศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เขาไม่เป็นเพียงผู้ที่เข้าถึงแต่เพียงศาสตร์ด้านวิจิตรศิลป์ แต่เขายังเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม และประติมากรรมอีกด้วย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1475 และเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ ภายหลังเป็นผู้สร้างประติมากรรมหินอ่อนชื่อกระฉ่อนโลกนามว่า เดวิด (David)
หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโล สร้างประติมากรรมรูปเดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมันนั่นเอง ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโลเดิมทีเป็นคนที่เกลียด เลโอนาโด ดาวินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก (คล้ายกับ "การที่เสือสองตัวอยู่ในถ้ำเดียวกันไม่ได้") ในช่วงนี้ (1497-1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter's Basilica) ที่กรุงโรม
ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับ พระสันตะปาปาจูเลียส ที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี 1545 ต่อมาในปี 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม
เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะ The Last Judgement (Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี
มีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี เสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 90 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจาก พระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของ มิเกลันเจโล ให้ยืนยาวออกไปอีก"

อิตาลี(สถานที่)







โคลอสเซียม (อังกฤษ: Colosseum หรือ Flavian Amphitheatre; อิตาลี: Colosseo - โคลอสโซ) เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือประมาณปี ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน
ในบางครั้งจะมีการเรียกชื่อ โคลิเซียม (Coliseum)
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ






สุสานใต้ดินแห่งกรุงโรม หรือ สุสานรังผึ้งแห่งกรุงโรม (อังกฤษ: Catacombs of Rome) เป็นสุสานโบราณที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บศพใต้ดิน[1]ในกรุงโรมหรือใกล้กรุงโรมในประเทศอิตาลี ซึ่งมีด้วยกันอย่างน้อยสี่สิบสุสาน บางสุสานก็เพิ่งพบเมื่อไม่นานมานี้ แม้ว่าจะมีชื่อเสียงว่าเป็นที่เก็บศพของผู้นับถือคริสต์ศาสนา แต่ก็เป็นที่เก็บศพของผู้นับถือศาสนาอื่นด้วยที่รวมทั้งเพกันและศาสนายูดาย บางครั้งก็ในบริเวณเดียวกันหรือบางครั้งก็แยกจากกัน การเก็บศพในสุสานใต้ดินแห่งกรุงโรมเริ่มทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2[ต้องการอ้างอิง] ดินภายใต้กรุงโรมเป็นหินทัฟฟ์เหมาะแก่การสร้างอุโมงค์และช่องที่ใช้ในการบรรจุศพ หินทัฟฟ์เป็นหินที่อ่อนที่ขุดง่ายและแข็งตัวเมื่อถูกอากาศ สุสานบางสุสานยาวหลายกิโลเมตรและอาจจะมีด้วยกันถึงสี่ชั้นหรือสี่ระดับ
สุสานใต้ดินของโรมันคาทอลิกมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อนักประวัติศาสตร์ศิลปะในการศึกษาศิลปะคริสต์ศาสนาของสมัยคริสเตียนยุคแรกเพราะในสุสานมีตัวอย่างงานจิตรกรรมฝาผนัง และ ประติมากรรมจากราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 สุสานใต้ดินของยูดายก็เช่นเดียวกันที่มีความสำคัญในการศึกษาวัฒนธรรมของศาสนายูดายในช่วงเวลาเดียวกัน









มหาวิหารเซนต์จอห์นแลเตอร์รัน[1] (ภาษาอังกฤษ:Basilica of St. John Lateran;ภาษาอิตาลี: Basilica di San Giovanni in Laterano) เป็นมหาวิหารของกรุงโรมและเป็นที่นั่งประจำตำแหน่งของสังฆราชของโรมซึ่งก็คือพระสันตะปาปา ตำแหน่งเป็นทางการคือ “Archibasilica Sanctissimi Salvatoris” หรือ “Archbasilica of the Most Holy Saviour” (มหาวิหารแห่งมหาวิหารแห่งพระไถ่บาปผู้ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด) มหาวิหารเซนต์จอห์นเป็นมหาวิหารที่เก่าแก่ที่สุดและมีตำแหน่งสูงสุด--เพราะเป็นมหาวิหารแห่งโรม--ในบรรดามหาวิหารหลักสี่มหาวิหารในกรุงโรม และมีตำแหน่งเป็นวัดแม่ของวัดนิกายโรมันคาทอลิกทั้งหมด
คำจารึกด้านหน้าวัด “Christo Salvatore” (พระเยซูผู้ไถ่บาป) อุทิศมหาวิหารนี้ให้เป็นมหาวิหารแห่งมหาวิหารที่อุทิศให้กับพระเยซูผู้เป็นพระมหาไถ่เอง เพราะมหาวิหารนี้เป็นมหาวิหารของสังฆราชจึงมีอาสนะหรือบัลลังก์บาทหลวง และเป็นวัดที่สำคัญที่สุดที่เหนือกว่าวัดอื่นรวมทั้ง มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ด้วย





ตึกแพนธีอัน (ละติน: Pantheon[nb 1]; ออกเสียง: /pænˈθiː.ən/ หรือ /ˈpænθi.ən/,[1]) “แพนธีอัน” มาจาก กรีก: Πάνθεον ที่แปลว่า “พระเจ้าทั้งหมด” เป็นสิ่งก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในกรุงโรม เดิมสร้างโดยมาร์คัส วิพซานิอัส อกริพพา (Marcus Vipsanius Agrippa) สำหรับเป็นเทวสถาน (Roman temple) สำหรับเทพต่างๆ ของโรมันโบราณ โรมันโบราณ ต่อมาก็ได้รับการสร้างใหม่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2
แต่ตัวสิ่งก่อสร้างจะอุทิศให้แก่เทพเท่าใดนั้นก็ยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ คำว่า “แพนธีอัน” โดยทั่วไปในปัจจุบันหมายถึงอนุสาวรีย์ที่เป็นที่เก็บศพของคนสำคัญ แพนธีอันเป็นสิ่งก่อสร้างจากสมัยโรมันที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดสิ่งหนึ่ง และได้รับการใช้สอยตลอดมาในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ก็ใช้เป็นคริสต์ศาสนสถานของโรมันคาทอลิก ที่อุทิศให้ “พระแม่มารีและผู้พลีชีพเพื่อศาสนา” ตัวตึกเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีโดมขนาดใหญ่ที่เก่าที่สุดในกรุงโรม ความสูงของช่องตา (oculus) บนเพดานและเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องวัดจากด้านในเท่ากับ 43.3 เมตรเท่ากัน[2]




จตุรัสโรมัน หรือ โรมันฟอรุม (อังกฤษ: Roman Forum; ละติน: Forum Romanum) บางครั้งก็รู้จักกันในชื่อภาษาละตินว่า “ฟอรุมโรมานุม” ตั้งอยู่ระหว่างเนินพาเลติเน (Palatine hill) และเนินแคปิโตลิเน (Capitoline hill) ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี บริเวณนี้เป็นบริเวณศูนย์กลางของการวิวัฒนาการของวัฒนธรรมโรมันมาแต่โบราณ ประชาชนมักจะเรียกบริเวณนี้ว่า “ฟอรุมแม็กนุม” หรือเพียงสั้นๆ ว่า “ฟอรุม”
โครงสร้างที่เก่าและสำคัญที่สุดต่างๆ ของเมืองเก่าต่างก็ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ที่รวมทั้งที่ประทับเดิมที่เรียกว่า “เรเจีย” (Regia) และกลุ่มสิ่งก่อสร้างรอบๆ สำหรับ “เทพีพรหมจารีย์” (Vestal virgins) สาธารณรัฐโรมันมีตึกรัฐสภา (Comitium) ที่เป็นที่ประชุมของวุฒิสมาชิกในบริเวณนี้ด้วย จตุรัสเป็นเหมือนจตุรัสศูนย์กลางของเมืองที่ประชาชนใช้เป็นที่ชุมนุมในกิจการต่างๆ ของรัฐ และยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของสาธารณรัฐ และจักรวรรดิต่อมา
สิ่งก่อสร้างในบริเวณจตุรัสก็มีด้วยกันหลายอย่างที่รวมทั้งเทวสถานเช่นเทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา, ประตูชัยเช่นประตูชัยเซ็พติมิอัส เซเวอรัส[1] และอื่นๆ

หอเอนเมืองปิซา (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa, อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตรเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1173 สร้างเสร็จเมื่อปี 1350 ใช้เวลาสร้างประมาณ 175 ปี แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเมื่อสร้างไปได้ถึงชั้น 3 เนื่องจากพื้นใต้ดินเป็นพื้นดินที่นิ่ม ทำให้ยุบตัว ต่อมาในปี ค.ศ.1272 โดย Giovanni di Simone สร้างให้เอนกลับไปอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สมดุล แต่การก่อสร้างในครั้งนี้ ก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเนื่องจากเกิดสงคราม ต่อมาก็มีการสร้างหอต่อขึ้นอีกและสร้างเสร็จ 7 ชั้น ในปี ค.ศ.1319 แต่หอระฆังถูกสร้างเสร็จในปี ค.ศ.1372 โดยใช้เวลาสร้างทั้งหมด 177 ปี
หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนปีซาได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมากาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้
ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก กองทัพสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่ยิงปืนใหญ่ใส่หอเอนเมืองปิซา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาลอิตาลี พยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา
ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1990 หอเอนเมืองปิซาถูกปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังขุดดินของอีกด้านหนึ่งออก เพื่อให้สมดุลยิ่งขึ้น และในวันที่ 15 ธันวาคม 2001 หอเอนเมืองปิซาถูกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง และถูกประกาศว่าสมดุลแล้วใน 300 ปีต่อมาหลังจากเริ่มทำการปรับปรุง
ค.ศ.1987 หอเอนเมืองปิซาถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Piazza Dei Miracoli หอเอนเมืองปิซายังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางอีกด้วย
นอกจากนี้หอเอนเมืองปิซานี้ช่วยให้กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีชื่อเสียงของโลก ได้ทดลองความจริง เรื่องน้ำหนักของของที่ตกเป็นผลสำเร็จอีกด้วย