วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นครรัฐวาติกัน

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Basilica of Saint Peter, ภาษาละติน: Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้นๆว่าเซนต์ปีเตอร์บาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) มหาวิหารนี้เป็นมหาวิหารหนึ่งในสี่ของมหาวิหารหลักในกรุงโรม, ประเทศอิตาลี (อีกสามมหาวิหารคือ: มหาวิหารเซ็นต์จอห์นแลเตอร์รัน, มหาวิหารซานตามาเรียมายอเร และ มหาวิหารเซ็นต์พอลนอกกำแพง

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกันสร้างทับวิหารเดิมที่ชื่อเดียวกัน โดมของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์สูงโดดเด่นสามารถเห็นได้แต่ไกลในตัวเมืองโรม วัดนี้ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 2.3 เฮกตาร์ สามารถจุคนได้กว่า 60,000 คน[1] เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่หนึ่งของคริสตชนนิกายโรมันคาทอลิก ที่ตั้งวัดเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังร่างของ นักบุญปีเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาวกสิบสององค์ของพระเยซู นักบุญปีเตอร์เดิมเป็นบาทหลวงองค์แรกของอันติโอก (Antioch) ต่อมาก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกของโรม เพราะนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อกันว่าร่างของนักบุญปีเตอร์ถูกฝังไว้ที่นี่ จึงเป็นประเพณีกันต่อมาว่าพระสันตะปาปาหลายองค์ก็ฝังไว้ที่วัดนี้
ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1506 บนวัดแบบคอนแสตนทีน และเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1626
แต่เดิมนั้นมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์มิได้เป็นสถานที่พำนักประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปาเช่นปัจจุบันนี้ (สถานที่ประจำตำแหน่งของสันตะปาปาเดิมอยู่ที่มหาวิหารเซ็นต์จอห์น แลเตอร์รัน) ถึงกระนั้นก็ยังถือกันว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ในตัวนครรัฐวาติกันเอง และมีเนื้อที่มาก การทำพิธีต่างๆที่เกี่ยวกับพระสันตะปาปาก็จะมาทำกันที่นี่ นอกจากนั้นก็ยังมีบัลลังก์บิชอปปีเตอร์ (Cathedra Petri) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบัลลังก์ของนักบุญปีเตอร์เองเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นสันตะปาปาที่นี่ แต่ปัจจุบันนี้เก้าอี้นี้ไม่ได้ใช้เป็นบัลลังก์บิชอปอีกแล้ว แต่ยังเก็บไว้ไต้ฐานแท่นบูชาที่ออกแบบโดยจานลอเรนโซ เบร์นินี[2]

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่าเป็นวัดศตวรรษที่ 4 ซึ่งมีรูปทรงแบบบาซิลิคา พอมาถึง ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาก็อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมากเพราะพระสันตะปาปาย้ายที่พำนักไปอยู่ที่เมืองอาวินยอง (Avignon) ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1309 ถึงปี ค.ศ. 1377 การตัดสินใจสร้างมหาวิหารใหม่ก็เพื่อจะได้สร้างมหาวิหารที่ใหม่กว่าและใหญ่กว่าเดิมมากได้สะดวก การใช้ชื่อมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่าก็ใช้มาตั้งแต่เมื่อสร้างมหาวิหารปัจจุบัน เพี่อเป็นการแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งก่อสร้างปัจจุบันและสิ่งก่อสร้างเดิม[3]เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ระหว่างการออกอากาศทางวิทยุสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12ประกาศว่าได้มีการค้นพบที่ฝังพระศพของนักบุญปีเตอร์[4] หลังจากที่นักโบราณคดีใช้เวลา 10 ปีศึกษาขุดค้นห้องใต้ดิน (crypt) ภายในมหาวิหาร

ปีเอต้า (อังกฤษ: Pietà; ละติน; pietas) มาจากภาษาอิตาลี ที่แปลว่า ความสงสาร คือหัวเรื่องของคริสต์ศิลปที่เป็นรูปพระแม่มารีประคองร่างพระเยซูที่เอาลงมาจากกางเขน ส่วนใหญ่จะพบในงานประติมากรรม Pietà เป็นหัวเรื่องหนึ่งในชุด “พระแม่มารีผู้เศร้า” (Our Lady of Sorrows) และเป็นฉากหนึ่งใน “ทุกขกิริยาของพระเยซู” ซึ่งเป็นฉากที่มีพระแม่มารี แมรี แม็กดาเลน และบุคคลอื่นล้อมร่างของพระเยซู (หลังจากที่เอาร่างของพระองค์ลงมาจากกางเขน)ด้วยความความโศรกเศร้า ฉากนี้ตามความเป็นจริงแล้วควรจะเรียกว่า “Lamentation” แต่บางที่ก็จะใช้คำว่า “Pietà” แทน
คำว่า “pietas” สืบมาจากประเพณีของชาวโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 7ที่มีการตึอกชกหัวและ "แสดงอารมณ์...ความรักอันใหญ่หลวงและความกลัวอำนาจของเทพเจ้าโรมัน"
ปีเอต้า เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16[1] ปีเอต้าแบบ เยอรมัน และ โปแลนด์จะเน้นรอยแผลของพระเยซู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น