ปองดูการ์เป็นสะพานส่งนำโบราณสถาปัตยกรรมโรมันสรางขึ้นเพื่อลำเลียงนำจืดข้ามแม่น้ำกาดอนไปยังเมืองนีมส์ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส สะพานสูง49เมตรยาว274เมตร ปองดูการ์ดสรางโดยทหารโรมันเมื่อตอนต้นศตวรรษเเรกของคริสต์ศักราช เพื่อนำน้ำจากบ่อน้ำเเร่ใกล้เมืองอูซส์ ไปใช้ในเมืองนีมส์ ปองดูการ์ดเป็นส่วนหนึ้งของระบบส่งนำ ระยะทางยาว 50 กิโลเมตร ลำเลียงนจากบ่อน้ำเเร่ไปยังเเมองนีมส์ บ่อน้ำเเร่อยู่สูงจากเมืองนีมส์ 17 เมตร วิศวกรโรมันการคำนวนง่ายๆ กับกฏเเรงโน้มถ่วงของโลกช่วยในการส่งน้ำ ทำให้ชาวโรมันสามารถนำน้ำเเร่ไปใช้ในเมืองนีมส์ได้เป็นเวลานานถึ 300ปี นับว่าเป็นผลสเร็จด้าวิศวกรรมของชาวโรมันอย่างงดงาม พระราชวังแวร์ซายส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองแวร์ซายส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหานครปารีส พระราชวังแวร์ซายส์เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วยเดิมนั้น เมืองแวร์ซายส์เป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายส์น่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง
การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายส์แห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารี อองตัวเนต ประหารด้วย "กิโยติน" ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายส์ยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ มหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์ก (อังกฤษ: Bourges Cathedral หรือ Cathedral St. Stephen) เปฺ็นคริสต์ศาสนสถานระดับมหาวิหารที่ตั้งอยู่ที่บูร์กในประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กเป็นที่นั่งของสังฆราชของสังฆมณฑลบูร์ก
“มหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์ก”[1] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1992การก่อสร้างมหาวิหารเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1195 ในปีเดียวกันกับมหาวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ตร์ บริเวณบริเวณร้องเพลงสวดสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1214, ทางเดินกลางระหว่างปี ค.ศ. 1225 ถึงปี ค.ศ. 1250 และด้านหน้าในปี ค.ศ. 1270 สถาปนิกคือ Paul-Louis Boeswillwald และนายช่างก่อสร้างใหญ่คือ Philip Berruyer
มหาวิหารอาเมียง (ภาษาฝรั่งเศส: Cathédrale Notre-Dame d'Amiens; ภาษาอังกฤษ: Amiens Cathedral) มีชื่อเต็มว่า “Cathédrale Notre-Dame d'Amiens” หรือในภาษาอังกฤษว่า “Cathedral of Our Lady of Amiens” เป็นมหาวิหารที่สูงที่สุดในประเทศฝรั่งเศส มีเนื้อที่ภายในกว้างใหญ่ถึง 200,000 ตารางเมตร หลังคาโค้งกอธิคสูง 42.30 เมตรซึ่งเป็นหลังคากอธิคที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส ตัวมหาวิหารตั้งอยู่ที่เมืองอาเมียงซึ่งเป็นเมืองสำคัญของพิคาร์ดี (Picardy) ในหุบเขาซอม (Somme) อยู่เหนือจากปารีสประมาณ 100 กิโลเมตรด้านหน้าวัดสร้างรวดเดียวเสร็จ--ระหว่างปี ค. ศ. 1220 ถึงปี ค. ศ. 1236--ลักษณะจึงกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตอนล่างสุดของด้านหน้าวัดเป็นประตูเว้าลึกใหญ่สามประตู เหนือระดับประตูขึ้นไปชั้นหนึ่งเป็นหินสลักขนาดใหญ่กว่าคนจริงของพระเจ้าแผ่นดิน 22 พระองค์เรียงเป็นแนวตลอดด้านหน้ามหาวิหารภายใต้หน้าต่างกุหลาบ สองข้างด้านหน้าประกบด้วยหอใหญ่สองหอ หอด้านใต้สร้างเสร็จเมื่อปี ค. ศ. 1366 หอทางทิศเหนือสร้างเสร็จ 40 ปีต่อมาเมื่อปี ค. ศ. 1406 และเป็นหอที่สูงกว่า
เอกสารที่เกี่ยวกับประวัติการสร้างมหาวิหารนี้ถูกทำลายไปหมดเมื่อสถานที่เก็บรักษาเอกสารสำคัญของวัดถูกไฟไหม้ไปเมื่อปีค. ศ. 1218 และอีกครั้งเมื่อปีค. ศ. 1258 ครั้งหลังนี้ไฟได้ทำลายตัวมหาวิหารด้วย บาทหลวงเอฟราดเดอฟุยอี (Bishop Evrard de Fouilly) เริ่มสร้างมหาวิหารใหม่แทนมหาวิหารเดิมที่ไหม้ไปเมื่อ ค. ศ. 1220 โดยมีโรแบร์ต เดอ ลูซาส (Robert de Luzarches) เป็นสถาปนิก และลูกชายของโรแบร์ต--เรนอด เดอ คอร์มองท์ (Renaud de Cormont) เป็นสถาปนิกต่อมาจนถึงค. ศ. 1288
จดหมายเหตุคอร์บี (Chronicle of Corbie) บันทึกไว้ว่ามหาวิหารสร้างเสร็จเมื่อ ค. ศ. 1266 แต่ก็ยังมีการปิดงานต่อมา พื้นโถงกลางภายในมหาวิหารตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ หลายชนิดรวมทั้งลายสวัสดิกะ[1] ลายวนเขาวงกต (labyrinth) ซึ่งปูเมื่อปีค. ศ. 1288 นอกจากนั้นก็มีระเบียงรูปปั้นไม่ใหญ่นัก 3 ระเบียง 2 ระเบียงอยู่ด้านเหนือและด้านใต้ของบริเวณร้องเพลงสวด และระเบียงที่ 3 อยู่ทางด้านตะวันเหนือของแขนกางเขน เป็นเรื่องราวของนักบุญต่างๆ รวมทั้งชีวะประวัติของนักบุญจอห์น แบ็พทิสต์ มหาวิหารกล่าวว่าเป็นเจ้าของวัตถุมงคลที่สำคัญคือพระเศียรของนักบุญจอห์น แบ็พทิสต์ ซึ่งวัดได้มาจาก วอลลัน เดอ ซาตอง (Wallon de Sarton) ผู้ไปนำมาจากคอนสแตนติโนเปิล เมื่อกลับมาจากสงครามครูเสด ครั้งที่ 4
รูปปั้นด้านหน้าข้างประตูมหาวิหารที่บอกได้ว่าเป็นนักบุญที่มาจากแถวๆ อาเมียงก็ได้แก่ นักบุญวิคทอเรียส, ฟูเซียน, และเจ็นเตียง (St. Victoricus, St. Fuscian, และ St. Gentian) ผู้พลีชีพเพื่อศาสนาไม่นานจากกันในคริสต์ศควรรษที่ 3 กล่าวกันว่าเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 บาทหลวงโฮโนราทุส (Bishop Honoratus) ผู้เป็นบาทหลวงองค์ที่ 7 ของมหาวิหารอาเมียงได้ขุดพบวัตถุมงคลของนักบุญทั้งสาม เมื่อพระเจ้าชิเดอแบรต์ที่ 2แห่งปารีส (Childebert II) พยายามยึดวัตถุมงคลก็ไม่สามารถทำได้ เมื่อไม่สามารถทำได้ก็ทรงอุทิศเงินก้อนใหญ่ให้กลุ่มลัทธิของผู้นิยมนักบุญทั้งสามและทรงส่งช่างทองมาทำเครื่องตกแต่งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญ[1]
นักบุญอื่นที่เป็นนักบุญท้องถิ่นที่มีรูปปั้นอยู่หน้าประตูคือนักบุญโดมิเทียส (St. Domitius) ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ผู้เคยเป็นนักบวชที่มหาวิหาร นักบุญอุลเฟีย (St. Ulphia) ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ผู้เคยเป็นลูกศิษย์ของนักบุญอุลเฟียและเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มสตรีผู้เคร่งศาสนาในบริเวณอาเมียง นักบุญแฟแมง (St Fermin) ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ผู้ถูกประหารชีวิตที่อาเมียง [2]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น