วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฝรั่งเศส(บุคคลสำคัญ)

ในค.ศ. 1660 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงอภิเษกกับองค์หญิงมาเรีย เธเรซา พระธิดาของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปน ซึ่งพระเจ้าฟิลิปก็ป้องกันการอ้างสิทธิของฝรั่งเศสโดยการให้องค์หญิงมาเรียเธเรซาสละสิทธิ์ในดินแดนของสเปนทุกส่วน โดยมีสินสอด (ฝ่ายหญิงให้ฝ่ายชาย) จำนวนมหาศาลเป็นค่าตอบแทน ในค.ศ. 1661 พระเจ้าหลุยส์ทรงแต่งตั้งให้ชอง-บาพ์ติสต์ โกลแบร์ต(Jean-Baptiste Colbert) เป็นเสนาบดีคลัง โกลแบร์ตสามารกอบกู้สถานะทางการเงินของฝรั่งเศสที่ใกล้จะล้มละลาย โดยการเก็บภาษีแบบใหม่ ทำให้เงินในพระคลังเพิ่มเป็นสามเท่า เป็นที่มาของความฟุ่มเฟือยในราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่แวร์ซาย พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ยังทรงพระเยาว์จนต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนหลายคน เริ่มที่ดยุคแห่งออร์เลียงส์ เข้าร่วมสงครามจตุรมิตร (War of the Quadraple Alliance - ประกอบด้วยฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์ - ไม่เกี่ยวกับสี่โรงเรียน)เมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งสเปนและราชินีอลิซาเบธ ฟาร์เนสที่ทะเยอทะยาน ต้องการกอบกู้ดินแดนในอิตาลีและประเทศภาคต่ำที่เสียไปในสงครามสืบราชสมบัติสเปน ผลคือความพ่ายแพ้ของสเปน ต่อมาคาร์ดินัล เฟลอรี (Cardinal Fleury) ทำสงครามสืบราชสมบัติโปแลนด์ (War of the Polish Succession)สตานิสลาส เลสเซนสกี ต้องการเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ แต่จักรพรรดิโรมันฯต่อต้าน ฝรั่งเศสเห็นโอกาสที่จะทำลายอำนาจออสเตรีย จึงทำสงคราม แต่สนธิสัญญาเวียนนาในค.ศ. 1735 เลสเซนสกีได้เป็นดยุคแห่งลอร์เรน ซึ่งเมื่อเลสเซนสกีเสียชีวิตในค.ศ. 1766 แคว้นลอร์เรนจึงตกเป้นของฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสมีอาณาเขตถึงปัจจุบัน ความฟุ่มเฟือยของราชสำนักและสงครามที่พ่ายแพ้ทำให้เศรษฐกิจของฝรั่งเศสตกต่ำลง พระคลังเป็นหนี้ทั่วยุโรป พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้ที่มีความสามารถเพื่อกอบกู้สถานการณ์ เช่น ตูร์โกต์ ซึ่งพยายามจะเก็บภาษีแบบใหม่ๆ แต่ประชาชนถูกเก็บภาษีหลายประเภทแล้ว เลยพากันฐานะยากจนกันไปหมด จึงเห็บภาษีจากสินค้าต่างๆแทน แต่บรรดาขุนนางอ้างว่ากษัตริย์ไม่ทรงมีพระราชอำนาจที่จะตั้งภาษีใหม่ แต่เป็นสภาฐานันดร (Estates-General) ต่างหาก พระเจ้าหลุยส์ทรงเห้นว่าตูร์โกต์ใช้ไม่ได้ แลยตั้งเนคแกร์ขึ้นมาแทนในค.ศ. 1776 พอดีกับอาณานิคมของบริเทนในอเมริกาประกาศเอกราชในสงครามปฏิวัติอเมริกา เนคแกร์ให้สนับสนุนฝ่ายอเมริกาโดยส่งมาร์ควิสแห่งลาฟาแยตไปช่วย จนฝ่ายอเมริกามาประกาศเอกราชที่ปารีสในค.ศ. 1783

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น