วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฝรั่งเศส(สถานที่ 3)

มหาวิหารแรงส์ หรือ มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแรงส์[1] (Cathédrale Notre-Dame de Reims) เป็นมหาวิหารของเมืองแรงส์ ประเทศฝรั่งเศส ที่เคยใช้ในพิธีสวมมงกุฎกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างบนมหาวิหารเดิมที่ถูกไหม้ไปเมื่อค.ศ. 1211 ที่พระเจ้าโคลวิสที่ 1ผู้ถือกันว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกของฝรั่งเศสได้ทำพิธีรับศีลจุ่มจากนักบุญเรมี (St. Remi) บาทหลวงของเมืองแรงส์เมื่อค.ศ. 496มหาวิหารสร้างเสร็จเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ยกเว้นด้านหน้าซึ่งมาเสร็จเอาอีกศตวรรษหนึ่งต่อมา แต่ยังเป็นสถาปัตยกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางเดินกลางขยายให้ยาวขึ้นเพื่อให้มีเนื้อที่เพียงพอกับผู้ที่เข้าร่วมพิธีสวมมงกุฎ หอสูง 81 เมตรย่อจากแบบเดิมที่ออกแบบให้สูง 120 เมตร หอด้านใต้มีระฆังสองใบ ใบหนึ่งคาร์ดินาลแห่งลอเรนตั้งชื่อให้ว่า “ชาร์ลอต” เมื่อปีค.ศ. 1570 ซึ่งหนักกว่า 10,000 กิโลกรัมหรือ 11 ตัน
เมื่อปี ค.ศ. 1875 รัฐสภาแห่งประเทศฝรั่งเศสอนุมัติเงินจำนวน 80,000 ปอนด์เพื่อปฏิสังขรณ์ด้านหน้ามหาวิหาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของมหาวิหาร และนับว่าเป็นงานฝีมือชิ้นเอกจากยุคกลาง เมื่อมหาวิหารโดนระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็ได้ทำลายบริเวณสำคัญๆ ของมหาวิหารไปมาก การบูรณะปฏิสังขรณ์เริ่มอีกครั้งเมื่อปี ค.ศ. 1919 และมาเสร็จเมื่อในปี ค.ศ. 1938 แต่การซ่อมก็ยังทำต่อเนื่องกันมาโดยมิได้หยุดยั้งจนทุกวันนี้



แอบบีแซงต์-เรอมีแห่งแรงส์ (อังกฤษ: Abbey of Saint-Remi) เป็นอดีตแอบบีหรือแอบบีที่ตั้งอยู่ในเมืองแรงส์ในประเทศฝรั่งเศส แอบบีแซงต์-เรอมีก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1099[1] แอบบีก็เป็นที่เก็บวัตถุมงคลของนักบุญเรอมีผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 553 สังฆราชแห่งแรงส์ผู้เปลี่ยนพระเจ้าโคลวิสที่ 1 กษัตริย์ของชนแฟรงค์ให้หันมานับถือคริสต์ศาสนาเมื่อวันคริสต์มาสปี ค.ศ. 496 หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอาลามานนี (Alamanni) ในยุทธการโทลบิแย็ค (Battle of Tolbiac)
บาซิลิกาปัจจุบันเดิมเป็นสำนักสงฆ์มาก่อนและได้รับการสถาปนาโดยสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 9 ในปี ค.ศ. 1049 ทางเดินกลางและแขนกางเขนสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นแบบโรมาเนสก์และเป็นส่วนที่เก่าที่สุด ด้านหน้าทางด้านใต้เป็นส่วนที่สร้างใหม่ที่สุด มงแซง-มีแชล (อังกฤษ: Mont Saint-Michel) คือวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยว กลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณแคว้นนอร์มองดีของประเทศฝรั่งเศส ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ภายใต้ชื่อ มงแซง-มีแชลและอ่าว
ในปีหนึ่งจะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมงแซง-มีแชลกว่า 3 ล้าน 2 แสนคน ซึ่งทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยงยอดนิยมอันดับที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศสรองลงมาจากหอไอเฟลและพระราชวังแวร์ซาย
ตัวเกาะอันเป็นที่ตั้งของวิหารนั้นเป็นหินแกรนิต โดยมีเส้นรอบวงเกาะประมาณ 960 เมตร และสูง 92 เมตร แล้วถ้าบวกกับความสูงของตัววิหารนั้นแล้วก็จะมีความสูงถึง 155 แมตร บนยอดวิหารเป็นรูปปั้นทองของเทวดามิเชล (ไมเคิล) สร้างโดย เอมานูแอล เฟรมีเย (Emmanuel Frémiet)ก่อนที่จะมีการสถานปนาราชวงศ์แรกของฝรั่งเศสขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกาะนี้เคยถูกเรียกว่า มงตงบ์ (Mont Tombe) และตามตำนาน วิหารที่อยู่บนเกาะนี้ถูกสร้างโดยการแนะนำของเทวดามีแชล ที่ได้เข้าฝันนักบุญโอแบร์ บิชอปแห่งมาฟรองช์เมื่อปี พ.ศ. 1251 แต่เขาก็มิได้ปฏิบัติตาม เนื่องจากนึกว่าปีศาจได้มาเข้าฝัน เขาจึงได้เพิกเฉยไป จนมาถึงการฝันครั้งที่ 3 มีแชลได้ใช้นิ้วของเขาจิ้มที่หัวของโอแบร์ และเมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาก็ได้ตะลึงว่ามีรูอยู่บนหัวจริง ๆ จากนั้นมาเขาจึงตัดสินใจสร้างวิหารบนยอดเขา
มหาวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ทร์ (อังกฤษ: Chartres Cathedral, ฝรั่งเศส: Cathédrale Notre-Dame de Chartres) เปฺนคริสต์ศาสนสถานโรมันคาทอลิกระดับมหาวิหารที่ตั้งอยู่ที่เมืองชาร์ทร์ในประเทศฝรั่งเศส (ราว 80 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้) ของปารีส เป็นสิ่งก่อสร้างกอธิคชิ้นที่งามที่สุดชิ้นหนึ่งของฝรั่งเศส
เมื่อมองจากนอกเมืองมหาวิหารเหมือนกับผุดขึ้นมาจากทุ่งข้าวสาลีจนเมื่อเข้าไปใกล้เข้าจึงเห็นว่าตั้งอยู่เหนือกลุ่มบ้านเรือนที่เกาะกันเป็นกระจุกบนเนินรอบๆ ด้านหน้ามหาวิหารเป็นหอสองหอที่มีลักษณะต่างกัน — หอหนึ่งเป็นหอปิรามิดเรียบๆ ที่สร้างราวคริสต์ทศวรรษ 1140 ที่สูง 105 เมตร อีกหอหนึ่งสูง 113 เมตร สร้างราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ตกแต่งอย่างวิจิตรกว่าหอแรก ภายนอกมหาวิหารเป็นค้ำยันแบบปีกที่กางออกไปรอบตัวมหาวิหาร
“มหาวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ทร์”[1] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1979 มหาวิหารแห่งชาร์ตเป็นมหาวิหารที่ใช้เวลาในการสร้างยาวนานกว่า 70 ปี
พระราชวังพระสันตะปาปาแห่งอาวินยอง (ฝรั่งเศส: Palais des Papes) เป็นพระราชวังของพระสันตะปาปาที่ตั้งอยู่ที่อาวินยองในประเทศฝรั่งเศส เป็นสิ่งก่อสร้างของสถาปัตยกรรมกอธิคที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป
“พระราชวังพระสันตะปาปาแห่งอาวินยอง”[1] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1995อาวินยองกลายมาเป็นที่ประทับของพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 1309 เมื่อแกสคอง แบร์ทรองด์ เดอ กอธในฐานะสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 5 ไม่ทรงมีพระประสงค์ที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายต่างในกรุงโรมหลังจากที่ทรงได้รับเลือกในปี ค.ศ. 1305 พระองค์จึงทรงย้ายสำนักงานการบริหารของพระสันตะปาปา (Papal Curia) ไปตั้งที่อาวินยองในสมัยที่ต่อมาเรียกกันว่า “ราชสำนักพระสันตะปาปาอาวินยอง” พระสันตะปาปาคลีเมนต์ประทับเป็นแขกของสำนักสงฆ์โดมินิคันในอาวินยอง สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 22พระสันตะปาปาองค์ต่อมา ทรงก่อตั้งราชสำนักอันหรูหราขึ้นที่นั่น แต่สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 12 ผู้ทรงเป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อมาทรงเป็นผู้ริเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์วังสังฆราชเก่าอย่างจริงจัง และกระทำต่อมาในสมัยของพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น