โคลอสเซียม (อังกฤษ: Colosseum หรือ Flavian Amphitheatre; อิตาลี: Colosseo - โคลอสโซ) เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือประมาณปี ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน
ในบางครั้งจะมีการเรียกชื่อ โคลิเซียม (Coliseum)
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
ในบางครั้งจะมีการเรียกชื่อ โคลิเซียม (Coliseum)
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
สุสานใต้ดินแห่งกรุงโรม หรือ สุสานรังผึ้งแห่งกรุงโรม (อังกฤษ: Catacombs of Rome) เป็นสุสานโบราณที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บศพใต้ดิน[1]ในกรุงโรมหรือใกล้กรุงโรมในประเทศอิตาลี ซึ่งมีด้วยกันอย่างน้อยสี่สิบสุสาน บางสุสานก็เพิ่งพบเมื่อไม่นานมานี้ แม้ว่าจะมีชื่อเสียงว่าเป็นที่เก็บศพของผู้นับถือคริสต์ศาสนา แต่ก็เป็นที่เก็บศพของผู้นับถือศาสนาอื่นด้วยที่รวมทั้งเพกันและศาสนายูดาย บางครั้งก็ในบริเวณเดียวกันหรือบางครั้งก็แยกจากกัน การเก็บศพในสุสานใต้ดินแห่งกรุงโรมเริ่มทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2[ต้องการอ้างอิง] ดินภายใต้กรุงโรมเป็นหินทัฟฟ์เหมาะแก่การสร้างอุโมงค์และช่องที่ใช้ในการบรรจุศพ หินทัฟฟ์เป็นหินที่อ่อนที่ขุดง่ายและแข็งตัวเมื่อถูกอากาศ สุสานบางสุสานยาวหลายกิโลเมตรและอาจจะมีด้วยกันถึงสี่ชั้นหรือสี่ระดับ
สุสานใต้ดินของโรมันคาทอลิกมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อนักประวัติศาสตร์ศิลปะในการศึกษาศิลปะคริสต์ศาสนาของสมัยคริสเตียนยุคแรกเพราะในสุสานมีตัวอย่างงานจิตรกรรมฝาผนัง และ ประติมากรรมจากราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 สุสานใต้ดินของยูดายก็เช่นเดียวกันที่มีความสำคัญในการศึกษาวัฒนธรรมของศาสนายูดายในช่วงเวลาเดียวกัน
สุสานใต้ดินของโรมันคาทอลิกมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อนักประวัติศาสตร์ศิลปะในการศึกษาศิลปะคริสต์ศาสนาของสมัยคริสเตียนยุคแรกเพราะในสุสานมีตัวอย่างงานจิตรกรรมฝาผนัง และ ประติมากรรมจากราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 สุสานใต้ดินของยูดายก็เช่นเดียวกันที่มีความสำคัญในการศึกษาวัฒนธรรมของศาสนายูดายในช่วงเวลาเดียวกัน
มหาวิหารเซนต์จอห์นแลเตอร์รัน[1] (ภาษาอังกฤษ:Basilica of St. John Lateran;ภาษาอิตาลี: Basilica di San Giovanni in Laterano) เป็นมหาวิหารของกรุงโรมและเป็นที่นั่งประจำตำแหน่งของสังฆราชของโรมซึ่งก็คือพระสันตะปาปา ตำแหน่งเป็นทางการคือ “Archibasilica Sanctissimi Salvatoris” หรือ “Archbasilica of the Most Holy Saviour” (มหาวิหารแห่งมหาวิหารแห่งพระไถ่บาปผู้ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด) มหาวิหารเซนต์จอห์นเป็นมหาวิหารที่เก่าแก่ที่สุดและมีตำแหน่งสูงสุด--เพราะเป็นมหาวิหารแห่งโรม--ในบรรดามหาวิหารหลักสี่มหาวิหารในกรุงโรม และมีตำแหน่งเป็นวัดแม่ของวัดนิกายโรมันคาทอลิกทั้งหมด
คำจารึกด้านหน้าวัด “Christo Salvatore” (พระเยซูผู้ไถ่บาป) อุทิศมหาวิหารนี้ให้เป็นมหาวิหารแห่งมหาวิหารที่อุทิศให้กับพระเยซูผู้เป็นพระมหาไถ่เอง เพราะมหาวิหารนี้เป็นมหาวิหารของสังฆราชจึงมีอาสนะหรือบัลลังก์บาทหลวง และเป็นวัดที่สำคัญที่สุดที่เหนือกว่าวัดอื่นรวมทั้ง มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ด้วย
คำจารึกด้านหน้าวัด “Christo Salvatore” (พระเยซูผู้ไถ่บาป) อุทิศมหาวิหารนี้ให้เป็นมหาวิหารแห่งมหาวิหารที่อุทิศให้กับพระเยซูผู้เป็นพระมหาไถ่เอง เพราะมหาวิหารนี้เป็นมหาวิหารของสังฆราชจึงมีอาสนะหรือบัลลังก์บาทหลวง และเป็นวัดที่สำคัญที่สุดที่เหนือกว่าวัดอื่นรวมทั้ง มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ด้วย
ตึกแพนธีอัน (ละติน: Pantheon[nb 1]; ออกเสียง: /pænˈθiː.ən/ หรือ /ˈpænθi.ən/,[1]) “แพนธีอัน” มาจาก กรีก: Πάνθεον ที่แปลว่า “พระเจ้าทั้งหมด” เป็นสิ่งก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในกรุงโรม เดิมสร้างโดยมาร์คัส วิพซานิอัส อกริพพา (Marcus Vipsanius Agrippa) สำหรับเป็นเทวสถาน (Roman temple) สำหรับเทพต่างๆ ของโรมันโบราณ โรมันโบราณ ต่อมาก็ได้รับการสร้างใหม่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2
แต่ตัวสิ่งก่อสร้างจะอุทิศให้แก่เทพเท่าใดนั้นก็ยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ คำว่า “แพนธีอัน” โดยทั่วไปในปัจจุบันหมายถึงอนุสาวรีย์ที่เป็นที่เก็บศพของคนสำคัญ แพนธีอันเป็นสิ่งก่อสร้างจากสมัยโรมันที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดสิ่งหนึ่ง และได้รับการใช้สอยตลอดมาในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ก็ใช้เป็นคริสต์ศาสนสถานของโรมันคาทอลิก ที่อุทิศให้ “พระแม่มารีและผู้พลีชีพเพื่อศาสนา” ตัวตึกเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีโดมขนาดใหญ่ที่เก่าที่สุดในกรุงโรม ความสูงของช่องตา (oculus) บนเพดานและเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องวัดจากด้านในเท่ากับ 43.3 เมตรเท่ากัน[2]
จตุรัสโรมัน หรือ โรมันฟอรุม (อังกฤษ: Roman Forum; ละติน: Forum Romanum) บางครั้งก็รู้จักกันในชื่อภาษาละตินว่า “ฟอรุมโรมานุม” ตั้งอยู่ระหว่างเนินพาเลติเน (Palatine hill) และเนินแคปิโตลิเน (Capitoline hill) ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี บริเวณนี้เป็นบริเวณศูนย์กลางของการวิวัฒนาการของวัฒนธรรมโรมันมาแต่โบราณ ประชาชนมักจะเรียกบริเวณนี้ว่า “ฟอรุมแม็กนุม” หรือเพียงสั้นๆ ว่า “ฟอรุม”
โครงสร้างที่เก่าและสำคัญที่สุดต่างๆ ของเมืองเก่าต่างก็ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ที่รวมทั้งที่ประทับเดิมที่เรียกว่า “เรเจีย” (Regia) และกลุ่มสิ่งก่อสร้างรอบๆ สำหรับ “เทพีพรหมจารีย์” (Vestal virgins) สาธารณรัฐโรมันมีตึกรัฐสภา (Comitium) ที่เป็นที่ประชุมของวุฒิสมาชิกในบริเวณนี้ด้วย จตุรัสเป็นเหมือนจตุรัสศูนย์กลางของเมืองที่ประชาชนใช้เป็นที่ชุมนุมในกิจการต่างๆ ของรัฐ และยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของสาธารณรัฐ และจักรวรรดิต่อมา
สิ่งก่อสร้างในบริเวณจตุรัสก็มีด้วยกันหลายอย่างที่รวมทั้งเทวสถานเช่นเทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา, ประตูชัยเช่นประตูชัยเซ็พติมิอัส เซเวอรัส[1] และอื่นๆ
หอเอนเมืองปิซา (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa, อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตรเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1173 สร้างเสร็จเมื่อปี 1350 ใช้เวลาสร้างประมาณ 175 ปี แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเมื่อสร้างไปได้ถึงชั้น 3 เนื่องจากพื้นใต้ดินเป็นพื้นดินที่นิ่ม ทำให้ยุบตัว ต่อมาในปี ค.ศ.1272 โดย Giovanni di Simone สร้างให้เอนกลับไปอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สมดุล แต่การก่อสร้างในครั้งนี้ ก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเนื่องจากเกิดสงคราม ต่อมาก็มีการสร้างหอต่อขึ้นอีกและสร้างเสร็จ 7 ชั้น ในปี ค.ศ.1319 แต่หอระฆังถูกสร้างเสร็จในปี ค.ศ.1372 โดยใช้เวลาสร้างทั้งหมด 177 ปี
หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนปีซาได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมากาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้
ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก กองทัพสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่ยิงปืนใหญ่ใส่หอเอนเมืองปิซา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาลอิตาลี พยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา
ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1990 หอเอนเมืองปิซาถูกปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังขุดดินของอีกด้านหนึ่งออก เพื่อให้สมดุลยิ่งขึ้น และในวันที่ 15 ธันวาคม 2001 หอเอนเมืองปิซาถูกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง และถูกประกาศว่าสมดุลแล้วใน 300 ปีต่อมาหลังจากเริ่มทำการปรับปรุง
ค.ศ.1987 หอเอนเมืองปิซาถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Piazza Dei Miracoli หอเอนเมืองปิซายังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางอีกด้วย
นอกจากนี้หอเอนเมืองปิซานี้ช่วยให้กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีชื่อเสียงของโลก ได้ทดลองความจริง เรื่องน้ำหนักของของที่ตกเป็นผลสำเร็จอีกด้วย
หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนปีซาได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมากาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้
ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก กองทัพสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่ยิงปืนใหญ่ใส่หอเอนเมืองปิซา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาลอิตาลี พยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา
ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1990 หอเอนเมืองปิซาถูกปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังขุดดินของอีกด้านหนึ่งออก เพื่อให้สมดุลยิ่งขึ้น และในวันที่ 15 ธันวาคม 2001 หอเอนเมืองปิซาถูกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง และถูกประกาศว่าสมดุลแล้วใน 300 ปีต่อมาหลังจากเริ่มทำการปรับปรุง
ค.ศ.1987 หอเอนเมืองปิซาถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Piazza Dei Miracoli หอเอนเมืองปิซายังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางอีกด้วย
นอกจากนี้หอเอนเมืองปิซานี้ช่วยให้กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีชื่อเสียงของโลก ได้ทดลองความจริง เรื่องน้ำหนักของของที่ตกเป็นผลสำเร็จอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น